Photo by Vicky Lapeyra
วันที่ 28 กรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมา ได้มีงานอีเว้นท์หนึ่งเกิดขึ้น ซึ่งเป็นงานที่ชาว IFVP เฝ้ารอมานาน จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ทำให้แผนต้องเลื่อนไปหลายปี แต่ในที่สุดก็ได้จัดขึ้น นั่นคือ
Bilbao 2022 Visual Thinking Global Summit
นอกจากการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ของงาน ปีนี้ผมได้รับเกียรติจาก Bilbao Visual Thinking Global Summit 2022 ร่วมเป็น 1 ใน 5Speakers ส่วนของ Knowledge café session In the afternoon ในงาน Bilbao Visual Thinking Global Summit 2022 วันนี้เลยมีเรื่องเล่าจากงาน มาเล่าให้ทุกท่านฟัง
Gamification in Visual Practice
หัวข้อที่ผมนำไปแลกเปลี่ยนใน Knowledge café session In the afternoon เป็นเรื่องเกี่ยวกับเกม โดยเน้นการเล่าเรื่องที่เบื้องหลังสุดโหด มัน ฮา ผ่านกระบวนคิด เอาตัวรอด การแก้ปัญหา หลายเรื่องล้มเหลว บางเรื่องถูไถ บางสิ่งทำให้พวกเรามีพลังชีวิตลุยต่อ
ผู้ฟังมีความหลากหลายสายอาชีพ หนักไปทาง ที่ปรึกษา, กระบวนกร, นักวางกลยุทธ์ การถกเถียง ทั้งเห็นด้วย เห็นต่าง เป็นเรื่องปกติ ไม่มีใครโกรธกัน ส่วนมากเป็นความเห็นที่ใช้ เหตุผลมากกว่าอารมณ์ บางเคสพูดตรงเลยว่า เนื้อหาน่าเบื่อ ไม่อยากฟัง ลุกไปกินกาแฟดีกว่า (ฟังเคสคนอื่น หรือ อาจมีคนฟังบางคนคิดแบบนี้กับเนื้อหาเราก็เป็นได้) เล่างานที่ทำ โดยใช้หลักคิดเกม 3 สิ่ง สร้างกระบวนการ โดย ผลลัพธ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเกมเสมอไป
Challenge - เล่นใหญ่ รัชดาลัย
Reward - ตบรางวัล
Competition - ต้องขิงกันหน่อย
Tips : เพิ่มเติมจากผู้ร่วมฟัง ระหว่างพูดไป เปิดให้คนแสดงความเห็น
Target audience - ดูกลุ่มเป้าหมายให้ดี
Process - ขั้นตอน, ลำดับ ให้ชัด
Collaboration - ไม่ต้องขิง บางครั้งต้องร่วมมือกัน
ข้อคิดจากหลายคน
ปัจจุบันสังคมเราขาดความอดทน ไม่ไหวจะรอ สมาธิสั้น (เป็นทั้งโลก) ส่วนนึงจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค สื่อ แยกเนื้อหาเป็นชิ้นย่อย ตบรางวัลเล็กๆบ่อยๆ เช่นยอด like, วิวกระตุ้น Dopamine ให้คนติด ใช้เวลานอนไถ เสพข้อมูล ซื้อของ เสียทรัพย์ ปั่นหัว หลักคิดเกมเดิมทีก็ส่งเสริมไปในทิศทางนั้น เลยโยนคำถามก่อนจบว่า จะทำยังไงที่คงใช้ 'หลักคิดเกม' คาดหวังผลกลับด้าน คือ ทำให้คนอดทน มีสมาธิมากขึ้น มีเหตุมีผล?
1. ถามเค้าด้วยว่า อยากได้รางวัลเป็นอะไร?
นักวางกลยุทธ์หญิง ชาวเยอรมันท่านนึงแชร์ว่า เค้าต้องจัดการเรื่องความต่างทางวัฒนธรรมยุโรปกับการทำงาน ยกตัวอย่าง งานพัฒนาด้านวัฒนธรรม ทีมงานหลายเชื้อชาติ เดิม เค้าเพิ่มค่าตอบแทน หากทำสิ่งนี้สำเร็จ ปรากฏว่า ทีมงาน (ชาวโปแลนด์) ไม่ได้อยากได้เงินเพิ่มแต่อยากได้ การกล่าวถึง และ ยอมรับ จากทีม
2. จากให้รางวัลเฉพาะบุคคล ให้เป็นทีมแทน น่าจะสร้างความร่วมมือในการบรรลุเป้าหมายงานใหญ่ได้ดีกว่า
Photo by Vicky Lapeyra
Global Speaker ความท้าทายที่มากกว่ากำแพงภาษา
ก่อนพูด ถามว่ากังวลมั๊ย? ตอบแบบไม่โกหก คือ แน่นอน เพราะคนฟังทุกคน ไม่ธรรมดาประสบการณ์ โปรไฟล์ เหมือนกับต้องก้าวข้ามความกลัว ทั้งภาษา เนื้อหา การถามตอบ เท่าที่คลุกคลีในระยะเวลาสั้นๆ เห็นว่า คนกลุ่มประเทศยุโรปเองมีความแตกต่าง หลากหลายมากกว่าที่คิด ภาษาไทยเก่า คำว่า 'อิหรอบเดียวกัน' ที่เพี้ยนมาจาก 'ยุโรปเดียวกัน' ใช้เรียก วัฒนธรรมรวมจากตะวันตก ยุคก่อนที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับสยาม ครั้งนี้ได้พูดคุยกับคน เยอรมัน, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, สก็อตแลนด์, เนเธอแลนด์, เบลเยี่ยม, อิตาลี, สเปน, สวิสเซอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก, เดนมาร์ก, อเมริกัน พบความจริงว่า 'ไม่อิหรอบเดียวกัน' สุดท้าย โล่งอก ถูไถเอาตัวรอดมาได้ หากมีโอกาสครั้งหน้า ควรทำยังไงให้ดีขึ้น พบมิตร เจอสหายใหม่หลายคน คุยถูกคอ อาจมีโปรเจคร่วมกันในอนาคต
ชวนฟังเรื่องเล่าเบื้องหลังในงาน สัมภาษณ์พิเศษจากพี่ตุลย์ Pictures Talk ได้ที่นี่
วันที่ : 28 ก.ค. 65 เวลา : 14:30-15:30 น. ผู้บรรยาย : ตุลย์ เล็กอุทัย สถานที่ : La Terminal - FICC, Bilbao, SPAIN #bilbao2022visualthinkingglobalsummit #picturestalk #gamificationinvisualpractices
Comments