top of page

41 items found for ""

  • We are hiring! Magic Hand Junior

    รับสมัครนักสื่อสารด้วยภาพ รุ่น 4 คุณสมบัติ สามารถฟัง จับประเด็น และสื่อสารข้อมูลต่างๆเป็นภาพได้ วาดภาพได้ มีความรู้เบื้องต้นด้านการจัดองค์ประกอบภาพ มีทัศนคติที่ดี สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สำหรับผู้เริ่มต้น มีพี่เลี้ยงสอนวาดใน 3 เดือนแรกของการทำงาน สถานที่ทำงาน : บริษัท สาระภาพ จำกัด D304 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) 155 หมู่ 2 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 วันและเวลาทำงาน : จันทร์ - ศุกร์ , เวลา 9:00 - 17:30 น. หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ หมายเหตุ อาจมีการเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดหรือต่างประเทศตามความเหมาะสม กรณีทำงานล่วงเวลาบริษัทมีค่าตอบแทนให้ (OT) ผู้ที่สนใจสามารถส่ง Resume หรือ Portfolio ได้ที่ hr.picturestalk@gmail.com Interview Magic Hand Magic Hand ทำอะไรบ้าง? " แกงแค Magic Hand รุ่น 3 ค่ะ งานที่ทำก็จะมีบันทึกประชุม ทั้งแบบออนไลน์ บันทึกที่ออฟฟิศ มีเดินทางไปบันทึกที่ต่างจังหวัดบ้าง ประเภทงานมีทั้งงานประชุม งานสัมมนา คอร์สออนไลน์ต่างๆ แกงชอบที่เวลาที่เราบันทึกจะได้เรียนรู้เรื่องใหม่ด้วย แล้วก็มีงาน Workshop ได้ร่วมออกแบบกระบวนการ คิดเกมส์ใหม่ๆ ทำงานในส่วน Production ออกแบบธีม กราฟฟิกในงาน แล้วยังได้ฝึกสกิล facilitator ด้วย แกงว่า Magic Hand นอกจากได้ความรู้ใหม่ ประสบการณ์ใหม่ๆ ยังได้พบเจอคนหลากหลาย ได้เดินทางไปที่ใหม่ๆ ล่าสุดแกงได้ร่วมจัด workshop ที่ต่างประเทศด้วย เป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ เลยค่ะ " " สมายล์ Magic hand รุ่น 3 เป็นเด็กแอนนิเมชันค่า หลังจากเพิ่งเรียนจบได้ปีกว่า ก็ได้มาร่วมงานกับ Pictures talk มีพี่นัสเป็นคนเทรนงานให้ ตื่นเต้นกับงานนี้มากเลยค่ะ ได้รู้ว่า Magic Hand เขาทำอะไรบ้าง เป็นงานที่มีความท้าทายตลอดเวลาเลยค่ะ ปัจจุบันทำงานครบ 1 ปีพอดีเลยค่ะ ประสบการณ์ที่ได้จาก Magic Hand คือ ได้วาดสรุปประชุมในภาพเดียว มีสรุป Data ให้ออกมาเป็นภาพ, Motion หรือกระทั่ง Animation ซึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อหาของงานเลยค่ะ ว่าเราจะทำออกมาในรูปแบบไหน ให้ทุกคนเข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังเป็นทีมซัพพอร์ต Workshop ทำในส่วนของ Products ออกแบบหรือเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำ Workshop เรียกได้สนุกกับงานนี้มากๆเลยค่ะ ได้รับประสบการณ์ใหม่ด้วย " " นัสเป็น Magic Hand รุ่น 2 ค่ะ เริ่มเทรนในปี 2018 ก็บันทึกประชุมมาเรื่อยๆ จนตอนนี้ได้อัพเลเวลเป็น Super Magic Hand แล้วค่า งานหลักจะเป็นการ Manage โปรเจคต่างๆที่เข้ามาในออฟฟิศค่ะ ยังได้ทำงานบันทึกประชุมตามงานสัมมนา บันทึกคอร์สออนไลน์ ได้บันทึกภาษาอังกฤษค่ะ ส่วนงาน Workshop ก็ได้ดูภาพรวม ออกแบบกระบวนการ เป็น Facilitator ได้ทำโปรดักใหม่ๆ ได้ไปทำงานต่างประเทศค่ะ เรียกว่า นอกจากได้ประสบการณ์ ได้ผลงาน แล้วยังได้รับความรู้จากงานที่ทำด้วยค่ะ "

  • Work & Travel : South Korea 2022

    안녕하세요 เวิร์คชอปส่งท้ายปี 2022 ของ Pictures Talk จัดที่เกาหลีใต้!! ย้อนกลับไปเมื่อปี 2016 คุณตุลย์ เล็กอุทัย รับหน้าที่เป็น Board of Directors IFVP (International Forum of Visual Practitioners) สมาคมวิชาชีพของผู้สื่อสารด้วยภาพ สมาคมนี้มีเครือข่ายนัก Visual Practitioners อยู่ทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือคุณ Jihyun Lee หรือคุณ Jilly นักสื่อสารด้วยภาพประจำเกาหลีใต้ ผู้ดำรงตำแหน่ง Board of Directors IFVP ในปี 2022 เป็นที่มาของการจัดเวิร์คชอป “Mission to Mars” เวิร์คชอบที่เกิดจากความร่วมมือของ Pictures Talk ประเทศไทยและ Visual Sharing ประเทศเกาหลี ไปเกาหลีทั้งที จะไปทำงานอย่างเดียวไม่ได้ เกิดเป็นโครงการ Work & Travel : South Korea 2022 ระหว่างวันที่ 13-18 ธันวาคม 2565 โดยมี คุณตุลย์ นัส และแกงแค ตัวแทนจากประเทศไทย เดินทางไปเป็น Visual Facilitator ถึงเกาหลี เป็นเวลาร่วม 3 เดือนในการวางแผน ออกแบบ และจัดทำอุปกรณ์ประกอบการจัดเวิร์คชอป เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด Day 1 : เตรียมงาน พวกเรามาถึงเกาหลีในช่วงที่อุณหภูมิต่ำที่สุดในรอบปี หลังจากเข้าที่พัก เก็บกระเป๋าเรียบร้อยแล้ว ก็เดินทางฝ่าหิมะไปยังสถานที่จัดงาน ‘ORP Institute’ ย่านกังนัม กรุงโซล เพื่อเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับการจัดเวิร์คชอปในวันถัดไป Day 2 : ‘Mission to Mars’ ‘Mission to Mars : Graphic Facilitation’ เวิร์คชอปครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมเป็นชาวเกาหลี 100% ทีมงานจึงเตรียมการจัดกิจกรรมเป็นภาษาอังกฤษ และมีคุณ Jilly เป็นล่ามภาษาเกาหลีให้กับพวกเรา กิจกรรมภายในวันนี้มีทั้งการฝึกวาดภาพเพื่อสื่อสาร, การวางแผนเชิงธุรกิจ, การบรรยายในหัวข้อ Graphic Facilitation โดยคุณ Jilly, Case study เล่าเรื่องเบื้องหลังการทำงานของ Pictures Talk ถึง 8 ผลงาน และปิดท้ายด้วยกิจกรรมสอยดาว (Lucky draw) ที่เรานำเอาของขวัญจากประเทศไทยส่งมอบเป็นที่ระลึกให้กับผู้เข้าร่วมเวิร์คชอปทุกท่าน Day 3 : ชาร์จพลัง ก่อนจะถึงเวิร์คชอปที่สอง แวะชาร์จพลังกันที่ COEX Mall ห้างสรรพสินค้าใต้ดินในเขตคังนัม-กู กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่มีทั้งศูนย์การประชุม ห้องโถงนิทรรศการ ร้านค้าและห้องสมุดที่กำลังเป็นที่โด่งดังในขณะนี้ วันนี้เรามี คุณ Heejae Yoo, Vice President ประจำ ‘ORP Institute’ เป็นไกด์นำเที่ยว Day 4 : ‘Green School Project’ ลุยงานกันต่อ พวกเราเดินทางออกจากโซลไปยังนครปกครองตนเองพิเศษเซจง (Sejong City) คุณ Eunme Kim เจ้าภาพการจัดงานในครั้งนี้มองเห็นความสำคัญของการสื่อสารด้วยภาพจึงเชิญคุณ Jilly และคุณตุลย์ ร่วมบรรยายและจัดเวิร์คชอปภายใต้โครงการ ‘Green School Project’ โครงการที่ดำเนินงานภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาลเกาหลีใต้ ผู้เข้าร่วมเวิร์คชอปในครั้งนี้มีทั้งผู้บริหาร ครู อาจารย์ และบุคลากรด้านการศึกษา ถือว่าจบงานได้อย่างน่าประทับใจ Day 5 : Lotte World และแล้ววันที่พวกเรารอคอยก็มาถึง... Lotte World! สวนสนุกในร่มและกลางแจ้ง แลนด์มาร์คของเกาหลี ท้าความหนาวไปกับเครื่องเล่นต่างๆแบบเต็มวัน ต่อด้วย Lotte World Aquarium พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในเกาหลี และจบทริปด้วยปิ้งย่างเกาหลีฟินๆท่ามกลางอากาศติดลบ 6 องศา สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมเวิร์คชอปทุกท่าน ขอบคุณผู้สนับสนุนฝั่งเกาหลี คุณ Jilly, คุณ Heejae, คุณ Eunme, ทีมงาน ORP Institute, ทีมกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาลเกาหลีใต้ ขอบคุณทีมงาน Pictures Talk ผู้อยู่เบื้องหลังงานในครั้งนี้ และคุณตุลย์ที่ทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้ เวิร์คชอปครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของ Pictures Talk, ไว้พบกันใหม่โอกาสหน้า 감사합니다.

  • หน้าเวที VS หลังม่าน : กว่าจะมาเป็นหนึ่งเวิร์คชอป Pictures Talk ทำอะไรบ้างนะ?

    Pic(k) a Card Workshop ณ Ubon Art Fest เป็นเวิร์คชอปส่งท้ายปี 2022 ในไทยของ Pictures Talk (งานสุดท้ายจริงๆจัดที่เกาหลี) เนื่องจากว่าปีนี้ ทีม Facilitator ได้จัดเวิร์คชอปให้กับกลุ่มผู้เข้าร่วมหลากหลายมาก ทั้งผู้คน ต่างพื้นที่ และต่างประเทศ ทำให้เป็นอีกปี ที่เราเติบโตขึ้นอย่างมากจากความท้าทายที่พบ (2022 Workshop Onsite & Online) ทุกๆครั้งที่งานเวิร์คชอปจบลง มีเพียงภาพของบรรยากาศงานหน้าเวทีเท่านั้นที่จะถูกเผยแพร่ออกไป แต่ที่จริงแล้ว งานหน้าเวทีที่จัดขึ้นเพื่อผู้เวิร์คชอปนั้น มีส่วนสำคัญมาจากงานหลังม่าน ที่มีกระบวนการคิด การทดลองมากมายเกิดขึ้น ดังนั้นบทความในวันนี้เลยจะพาทุกท่านที่สนใจกระบวนการ Workshop Facilitator ของ Pictures Talk มาเยี่ยมงานหลังบ้านว่า กว่าจะมาเป็นหนึ่งเวิร์คชอป Pictures Talk ทำอะไรบ้างนะ? หลังม่าน Workshop คิด - เขียน - ทดลอง - ซ้อม - สร้าง คิด - หลังม่าน เริ่มต้นโปรเจ็คด้วยการรับบรีฟว่า เวิร์คชอปนี้ เราจัดที่งานไหน แล้วงานใหญ่มีธีมแบบไหนนะ ที่เราจะสามารถหาช่องว่าง คิด Concept art และ Workshop activity ที่จะไปด้วยกันกับงานได้ ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นที่ใช้พลังในช่วงแรกเยอะมาก เพราะต้องทำการบ้านมาคุยกัน รีเซิร์จข้อมูลเพื่อมาเสนอไอเดียที่น่าสนใจ เพื่อขึ้นรูปเป็น demo ในการพัฒนาต่อไป เขียน - หลังม่าน เมื่อตัดสินใจเลือกเกม กิจกรรม และธีมแล้ว ก็ถึงช่วงเวลาในการวาง Concept Art ตั้งแต่ธีมงาน เทมเพลตกิจกรรม และโปสเตอร์สำหรับโปรโมทงานต่างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ขั้นตอนนี้ Workshop Facilitator สาย Designer จะทำงานร่วมกับ Magic hand ในการออกแบบร่วมกันจนกว่าภาพไอเดียกับความเป็นไปได้ในการทำจะมาบรรจบกัน ทดลอง - หลังม่าน ถึงเวลาทดลอง จากแผนร่าง สู่การลงมือทำจริง โดยขั้นตอนนี้เรียกว่าเป็นส่วนที่ยากที่สุดของการเตรียมงาน นั่นเป็นเพราะตัว Demo แรกๆมักจะไม่เวิร์ค มีการปรับออกมาให้ดีที่สุดจนพอใจ และพร้อมนำไปใช้จริงในกิจกรรมเวิร์คชอป อีกความท้าทายคือ Exhibition ของงาน เนื่องจากเหตุการณ์ที่มักเจอเป็นปกติคือเหตุไม่คาดฝัน อาคาร สถานที่ ฟ้าฝน การดีไซน์ และเลือกของที่ยืดหยุ่นได้หน้างาน เป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญของการรับมือกับงานเววิร์คชอป ที่คิดว่าหัวอกคนจัดเวิร์คชอปเหมือนกันน่าจะเข้าใจดี ซ้อม - หลังม่าน หลังจากเตรียมอุปกรณ์เวิร์คชอปเรียบร้อย ก็ถึงเวลาซ้อมรันกิจกรรม เพื่อให้ลำดับในการจัดงานราบรื่นไปได้ด้วยดี ซ้อมรับส่งบทบาทกันระหว่าง Facilitator โดยปกติการซ้อมหลักจะแบ่งเป็นการซ้อมเพื่อรับทราบลำดับกิจกรรม แล้วค่อยซ้อมจำลองสถาณการณ์จริง คาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นหน้างาน สร้าง - หลังม่าน และแล้วก็มาถึงลำดับสุดท้ายในการเตรียมงาน งานหลังม่านงานสุดท้าย คือการเตรียมสถานที่ให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น Backdrop อุปกรณ์เวิร์คชอป เช็คแสงสีเสียงให้พร้อม และซ้อมประจำที่ เป็นไปได้ ควรไปถึงหน้างานก่อน 1 วัน เผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น เช่น ความสว่างห้อง ขนาดห้อง อุณหภูมิ การกระจายเสียง เพื่อให้การรันเวิร์คชอปออกมาสมูทที่สุด ให้ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่ The Show must go on! งานหน้าเวที ก็ทำให้เต็มที่ Pic(k) a Card Workshop หงายการ์ด Visual Thinking พลิกความคิดเป็นภาพ - ครั้งแรกของ Pictures Talk Workshop ที่จัดขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ณ Ubon art Fest : งานแสดงศิลปะสุดสร้างสรรค์ที่นำเสนอผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ของจังหวัดอุบลราชธานี โดยในงานนี้ Pictures Talk ได้จัดเวิร์คชอปในการพลิกความคิดให้กลายเป็นภาพ เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยกระบวนการคิดและสื่อสารด้วยภาพ (Visual Thinking) แก่ผู้สนใจทั่วไปในงาน Ubon Art Fest 2022 - ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมเวิร์คชอปทุกท่านที่ให้ความสนใจร่วมกิจกรรม สร้างสรรค์ผลงานจาก Visual Thinking ร่วมกัน และขอขอบคุณ สำนักงานนวัตกรรม (NIA), Event9 Marketing Co.,Ltd.,Ubon art Fest ที่ได้ร่วมงานกันในครั้งนี้ ทิ้งท้ายก่อนจาก ขอฝาก Visual Recording ของเวิร์คชอปนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้ไม่ลืมเนื้อหาหลังจากจบงาน ถ้าอ่านก็ยังยาวไป รับชมวิดีโอเบื้องหลังได้ที่นี่เลย

  • Pic(k) a Card Workshop : หงายการ์ด Visual Thinking พลิกความคิดเป็นภาพ

    คุณเชื่อในพลังของภาพรึเปล่า? ไม่ว่าจะเป็นภาพบนไพ่ทำนาย หรือภาพความฝัน เราก็นำภาพมาตีความทั้งนั้น . เหตุผลที่ไพ่ทำนาย เลือกใช้ภาพ แทนคำทำนายแบบอักษรคืออะไร? หรือแม้กระทั่งความฝันของคน ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาตีความเรื่องดวงชะตา วงการหวยก็ตาม ทั้งสองศาสตร์ของการทำนาย มีการใช้ "ภาพ" เป็นเครื่องมือในการสื่อสารตีความ เหตุผลที่เลือกใช้ภาพนั้น ก็เป็นเพราะว่า ภาพมีความเป็นภาษาสากลนั่นเอง ภาษาของภาพนั้นไม่ต้องถอดรหัสด้วยการทำความเข้าใจโครงสร้างภาษาเหมือนตัวหนังสือ ที่มีหลากหลายเชื้อชาติ อีกทั้งภาพ มีความเชื่อมโยงกันที่ประสบการณ์ ซึ่งบางพื้นที่อาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันอยู่บ้าง แต่ถ้าหากมีประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกันแล้ว "พลัง" ของภาพสามารถสร้างอิมแพ็คทางการสื่อสารได้มากกว่าตัวหนังสือ เนื่องจากสามารถแสดงอารมณ์ ความรู้สึกลงไปได้ด้วย Pic(k) a Card Workshop : หงายการ์ด Visual Thinking พลิกความคิดเป็นภาพ เวิร์คชอปในธีมไพ่ทำนาย ที่จะมาพลิกไพ่ ให้ผู้เข้าร่วมเวิร์คชอปเข้าใจกระบวนการคิด และการสื่อสารด้วยภาพมากขึ้น (Visual Thinking) รวมถึงการนำ "พลัง" ของภาพไปใช้ในการสื่อสาร เพื่อประสิทธิภาพของการสื่อสารที่สามารถสร้างอิมแพ็คได้มากกว่าเดิม สอนโดยทีม Pictures talk บริษัท Visual Practitioner สัญชาติไทย ที่ทำงานเรื่องการสื่อสารโดยกระบวนการคิดด้วยภาพ (Visual Thinking) ที่มากประสบการณ์กว่า 9 ปี พิเศษสำหรับชาวอุบลและจังหวัดใกล้เคียง! เพราะ Pictures Talk ยกทีมไปพบกับทุกคนที่งาน “UBON ART FEST 2022” Asean’s Innovative Art Festival ในวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2022 เวลา 14.00-16.00 น ณ YUU HOTEL & CAFÉ เลียบถนนอุปราช จ.อุบลราชธานี ลงทะเบียนเข้าร่วม Workshop ได้แล้ววันนี้ที่ลิ้งค์ https://liff.line.me/1657632264-0Lw8oyln แล้วมาร่วมพลิกไพ่กันที่งานนะ #PicturesTalk #VisualThinking #Workshop #จังหวัดอุบลราชธานี #สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ #NIA #InnovationThailand #UbonArtFest2022 #อุบลอาร์ตเฟส2565 #อุบลเมืองอาร์ต #InnovativeArt #NFT #Ubonartworkshop

  • สิ่งที่เรียนรู้จาก Gamification in Visual practices. Bilbao 2022 Visual Thinking Global Summit

    Photo by Vicky Lapeyra วันที่ 28 กรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมา ได้มีงานอีเว้นท์หนึ่งเกิดขึ้น ซึ่งเป็นงานที่ชาว IFVP เฝ้ารอมานาน จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ทำให้แผนต้องเลื่อนไปหลายปี แต่ในที่สุดก็ได้จัดขึ้น นั่นคือ Bilbao 2022 Visual Thinking Global Summit นอกจากการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ของงาน ปีนี้ผมได้รับเกียรติจาก Bilbao Visual Thinking Global Summit 2022 ร่วมเป็น 1 ใน 5Speakers ส่วนของ Knowledge café session In the afternoon ในงาน Bilbao Visual Thinking Global Summit 2022 วันนี้เลยมีเรื่องเล่าจากงาน มาเล่าให้ทุกท่านฟัง Gamification in Visual Practice หัวข้อที่ผมนำไปแลกเปลี่ยนใน Knowledge café session In the afternoon เป็นเรื่องเกี่ยวกับเกม โดยเน้นการเล่าเรื่องที่เบื้องหลังสุดโหด มัน ฮา ผ่านกระบวนคิด เอาตัวรอด การแก้ปัญหา หลายเรื่องล้มเหลว บางเรื่องถูไถ บางสิ่งทำให้พวกเรามีพลังชีวิตลุยต่อ ผู้ฟังมีความหลากหลายสายอาชีพ หนักไปทาง ที่ปรึกษา, กระบวนกร, นักวางกลยุทธ์ การถกเถียง ทั้งเห็นด้วย เห็นต่าง เป็นเรื่องปกติ ไม่มีใครโกรธกัน ส่วนมากเป็นความเห็นที่ใช้ เหตุผลมากกว่าอารมณ์ บางเคสพูดตรงเลยว่า เนื้อหาน่าเบื่อ ไม่อยากฟัง ลุกไปกินกาแฟดีกว่า (ฟังเคสคนอื่น หรือ อาจมีคนฟังบางคนคิดแบบนี้กับเนื้อหาเราก็เป็นได้) เล่างานที่ทำ โดยใช้หลักคิดเกม 3 สิ่ง สร้างกระบวนการ โดย ผลลัพธ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเกมเสมอไป Challenge - เล่นใหญ่ รัชดาลัย Reward - ตบรางวัล Competition - ต้องขิงกันหน่อย Tips : เพิ่มเติมจากผู้ร่วมฟัง ระหว่างพูดไป เปิดให้คนแสดงความเห็น Target audience - ดูกลุ่มเป้าหมายให้ดี Process - ขั้นตอน, ลำดับ ให้ชัด Collaboration - ไม่ต้องขิง บางครั้งต้องร่วมมือกัน ข้อคิดจากหลายคน ปัจจุบันสังคมเราขาดความอดทน ไม่ไหวจะรอ สมาธิสั้น (เป็นทั้งโลก) ส่วนนึงจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค สื่อ แยกเนื้อหาเป็นชิ้นย่อย ตบรางวัลเล็กๆบ่อยๆ เช่นยอด like, วิวกระตุ้น Dopamine ให้คนติด ใช้เวลานอนไถ เสพข้อมูล ซื้อของ เสียทรัพย์ ปั่นหัว หลักคิดเกมเดิมทีก็ส่งเสริมไปในทิศทางนั้น เลยโยนคำถามก่อนจบว่า จะทำยังไงที่คงใช้ 'หลักคิดเกม' คาดหวังผลกลับด้าน คือ ทำให้คนอดทน มีสมาธิมากขึ้น มีเหตุมีผล? 1. ถามเค้าด้วยว่า อยากได้รางวัลเป็นอะไร? นักวางกลยุทธ์หญิง ชาวเยอรมันท่านนึงแชร์ว่า เค้าต้องจัดการเรื่องความต่างทางวัฒนธรรมยุโรปกับการทำงาน ยกตัวอย่าง งานพัฒนาด้านวัฒนธรรม ทีมงานหลายเชื้อชาติ เดิม เค้าเพิ่มค่าตอบแทน หากทำสิ่งนี้สำเร็จ ปรากฏว่า ทีมงาน (ชาวโปแลนด์) ไม่ได้อยากได้เงินเพิ่มแต่อยากได้ การกล่าวถึง และ ยอมรับ จากทีม 2. จากให้รางวัลเฉพาะบุคคล ให้เป็นทีมแทน น่าจะสร้างความร่วมมือในการบรรลุเป้าหมายงานใหญ่ได้ดีกว่า Photo by Vicky Lapeyra Global Speaker ความท้าทายที่มากกว่ากำแพงภาษา ก่อนพูด ถามว่ากังวลมั๊ย? ตอบแบบไม่โกหก คือ แน่นอน เพราะคนฟังทุกคน ไม่ธรรมดาประสบการณ์ โปรไฟล์ เหมือนกับต้องก้าวข้ามความกลัว ทั้งภาษา เนื้อหา การถามตอบ เท่าที่คลุกคลีในระยะเวลาสั้นๆ เห็นว่า คนกลุ่มประเทศยุโรปเองมีความแตกต่าง หลากหลายมากกว่าที่คิด ภาษาไทยเก่า คำว่า 'อิหรอบเดียวกัน' ที่เพี้ยนมาจาก 'ยุโรปเดียวกัน' ใช้เรียก วัฒนธรรมรวมจากตะวันตก ยุคก่อนที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับสยาม ครั้งนี้ได้พูดคุยกับคน เยอรมัน, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, สก็อตแลนด์, เนเธอแลนด์, เบลเยี่ยม, อิตาลี, สเปน, สวิสเซอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก, เดนมาร์ก, อเมริกัน พบความจริงว่า 'ไม่อิหรอบเดียวกัน' สุดท้าย โล่งอก ถูไถเอาตัวรอดมาได้ หากมีโอกาสครั้งหน้า ควรทำยังไงให้ดีขึ้น พบมิตร เจอสหายใหม่หลายคน คุยถูกคอ อาจมีโปรเจคร่วมกันในอนาคต ชวนฟังเรื่องเล่าเบื้องหลังในงาน สัมภาษณ์พิเศษจากพี่ตุลย์ Pictures Talk ได้ที่นี่ วันที่ : 28 ก.ค. 65 เวลา : 14:30-15:30 น. ผู้บรรยาย : ตุลย์ เล็กอุทัย สถานที่ : La Terminal - FICC, Bilbao, SPAIN #bilbao2022visualthinkingglobalsummit #picturestalk #gamificationinvisualpractices

  • Data in The mood workshop : วาดรูปในสวนเสียงไผ่ - ทำความเข้าใจการสื่อสารด้วยภาพ

    เวิร์คชอป Data in the mood : Visual Thinking for Business เป็นเวิร์คชอปที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในการทำงานของ Pictures Talk ตลอด 9 ปี ผู้คนในสายธุรกิจมีข้อมูลมากมายที่ต้องการจัดการเรียบเรียงประมวลผลอยู่เสมอ และยังต้องถ่ายทอดและสื่อสารข้อมูลเหล่านั้นออกไปให้เข้าใจได้ง่ายอีกด้วย ดังนั้นการสื่อสารด้วยภาพ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพื่อการสื่อสารที่เข้าใจง่ายและมีประสิทธิภาพ ในการสร้างความจดจำ และการทำความเข้าใจ แต่ก่อนที่จะกลายเป็นเวิร์คชอปนี้ ก็มีหลายแนวคิดที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ผู้คนในสายธุรกิจ จะสามารถวาดภาพได้หรือไม่ เพราะไม่มีพื้นฐานการวาดภาพ ภาพ จะลดทอนความสำคัญของเนื้อหารึเปล่า ใครในภาคธุรกิจที่ควรรู้เรื่องการสื่อสารเป็นภาพ คำถามที่น่าสนใจที่สุดในกลุ่มนี้ คือคำถามแรก ผู้คนในสายธุรกิจ จะสามารถวาดภาพได้หรือไม่? คนส่วนมากมักบอกว่าตนเองวาดรูปไม่ได้ แต่จริงๆแล้ว ทุกคนวาดรูปได้ ถ้าเราไม่เอากำแพงคำว่า วาดรูปสวย มาปิดกั้นตัวเรา นั่นเป็นเพราะ หัวใจสำคัญของการจัดการข้อมูลให้เป็นภาพ ไม่ใช่การวาดรูปออกมาให้สวยที่สุด แต่คือการใช้ภาพที่สื่อความหมายได้ชัดเจน กิจกรรมตลอด 2 วัน เรียนรู้ - เข้าใจ - ลงมือทำ ไปกับกระบวนการคิดเป็นภาพ (Visual Thinking) ทฤษฏี 40% ปฏิบัติ 60% นอกจากการเรียนภาคทฤษฏี ทุกคนจะได้ลงมือวาดรูป แต่เป็นการฝึกวาด เพื่อใช้ภาษาภาพในการสื่อสารเบื้องต้น ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานการวาดรูปก็เรียนได้ เน้นไปที่การประยุกต์ใช้ ผ่าน Case study ให้ภาพแปลงข้อมูลยากๆ ให้น่าอ่าน จำขึ้นใจ เปลี่ยนข้อมูลธุรกิจให้ทุกคนเห็นภาพ ตลอดการเวิร์คชอป ทั้ง 2 วัน ณ สวนไผ่กลางกรุง ที่ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ - ลงมือวาดจริง แม้ไม่มีพื้นฐานการวาดรูป ก็สามารถวาดเพื่อการสื่อสารได้ในคลาสนี้ Pictures Talk ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมเวิร์คชอปทุกท่าน ที่ร่วมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกและสร้างสรรค์ไปด้วยกัน Pictures Talk ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาหลักสูตร Visual Thinking ทักษะการคิดและสื่อสารด้วยภาพ ให้เข้มข้น หลากหลายกลุ่มผู้ใช้มากขึ้น เพื่อให้เครื่องมือในการสื่อสารนี้ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ที่สนใจ และหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากทุกๆท่านต่อไปในอนาคต Shift inner view through pictures บริษัท สาระภาพ จำกัด ช่วยให้ทุกการสื่อสารง่าย ด้วยความเชื่อว่า ภาพ เข้าใจง่าย, ดึงดูด และ เป็นสากล #PicturesTalk #VisualThinking #DataInTheMood #Workshop #Business

  • Data in the mood : Visual Thinking for Business

    จะดีแค่ไหน? ถ้าไอเดียดีๆของคุณ สามารถถ่ายทอดออกไปได้ดั่งใจ ไม่ติดอยู่แค่ในความคิด ให้ Visual Thinking ช่วยฉายภาพในหัวของคุณ สร้างทักษะ Visual Thinking ฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียน วาด เพื่อนำ ไปต่อยอดพัฒนาองค์กร ด้วยหลักสูตร Data in the mood : Visual Thinking for Business Visual Thinking หรือทักษะการสื่อสารด้วยภาพ เป็นทักษะสำคัญของโลกยุคปัจจุบันที่การสื่อสารต้องการความรวดเร็ว กระชับ เข้าใจง่าย และทำให้เห็นภาพรวมได้ หลักสูตร Data in the mood เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่ให้ผู้เข้าร่วมได้ทดลองทำ ทดลองเขียน ทดลองวาด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสตร์ของการสื่อสารด้วยภาพ Visual Thinking for Business จะช่วยให้ผู้เข้าอบรม แปลงข้อมูลยาก ให้น่าอ่าน จำขึ้นใจ เปลี่ยนข้อมูลธุรกิจให้ทุกคนเห็นภาพ ครอบคลุม 3 เรื่องหลัก Data Management การจัดระเบียบข้อมูล การจับประเด็นสำคัญ Storytelling การเล่าเรื่องให้น่าสนใจ Drawing การวาดรูปเพื่อถ่ายทอดข้อมูลเป็นภาพ Visual Thinking & Doing workshop หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับใคร? ผู้บริหาร, ผู้นำองค์กร ที่ต้องการถ่ายทอดนำเสนอความคิด วิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้จัดการ, ผู้นำทีม ที่สามารถนำทักษะไปใช้ทำข้อมูลยากเป็นภาพให้น่าสนใจ SMEs, Startup ที่ต้องการทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ไปใช้ในการสื่อสาร, นำเสนอ, จัดการข้อมูลให้เป็นภาพ รูปแบบโครงการ DAY 1 : วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 - 16.00 น. เน้นการทำความเข้าใจ ให้ผู้เรียนได้เข้าใจหลักการการจับประเด็นเพื่อถ่ายทอดข้อมูล ฝึกวาดภาพเพื่อการสื่อสาร เพราะเราเชื่อว่า ทุกคนวาดได้ DAY 2 : วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 - 16.00 น. เล่าเรื่องอย่างไรให้น่าสนใจ พร้อมทดลองวิเคราะห์ธุรกิจ นำความรู้ Visual Thinking มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างธุรกิจในปฏิบัติการ 'The Future of smart living' ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับคู่มือของหลักสูตร Visual Thinking for Business พร้อมทั้งประกาศนียบัตร จากสถาบันที่ปรึกษาการจัดการแห่งประเทศไทย (IMCT) และ Pictures Talk วิทยากร คุณตุลย์ เล็กอุทัย ประสบการณ์ทำงาน 9 ปี ด้วย Visual thinking เพื่อแก้ปัญหาการจัดการข้อมูลหลากหลายศาสตร์ ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย และเชื่อมั่นว่าการสื่อสารด้วยภาพ มีพลังในการขับเคลื่อนความคิด, มุมมองของผู้คน ผู้ก่อตั้ง Pictures Talk อดีต Board of directors IFVP (International Forum of Visual Practitioners USA) Head of VP Asia ,The facilitation summit 2021, IAF (International association of facilitators) Visual practitioner ประสบการณ์ทำงานให้กับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ องค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานภาครัฐ กว่า 60 แห่งใน 7 ประเทศ(สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, มาเลเซีย และไทย) Data in the mood รับจำนวนจำกัดเพียง 15 ท่าน ค่าใช้จ่าย 20,000 บาทต่อท่าน (รวม Vat) โปรโมชั่นพิเศษ! Early Bird ticket 17,000 บาท จำนวน 5 ท่านแรกเท่านั้น วันและเวลาอบรม 24-25 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00-16.00 น. สถานที่อบรม สวนเสียงไผ่ ทาวน์อินทาวน์ (เลียบทางด่วน เอกมัย-รามอินทรา) 224/1 ถนน ศรีวรา แขวง พลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10312 ติดต่อประสานงาน Pictures Talk : คุณแบว 092-6219575 หรือ LINE OA : @picturestalk TVA Community : คุณหญิง Tel & Line: 063-6244650

  • ทฤษฏีแมลงสาบ ในยามเกิดความวิกฤติ

    Sundar Pichai ซีอีโอ Alphabet หรือ บริษัทแม่ Google ที่เราคุ้นเคย เล่าว่า มีร้านอาหารแห่งหนึ่ง แขกเหรื่อเต็มร้าน กำลังดื่มด่ำกับอาหารมื้อค่ำแสนอร่อย จู่ๆมีแมลงสาบโผล่ขึ้นมาบนโต๊ะ กรี๊ด! ลูกค้าร้องเสียงหลง แมลงสาบเจ้ากรรมบินมาเกาะ แขนเด็กเสิร์ฟ ที่ตกอกตกใจและพยายามตีให้ได้ แต่ไม่สำเร็จ ยิ่งโกลาหลไปอีก เมื่อมันบินไปโต๊ะต่างๆอย่างไร้ทิศทาง ลูกค้า อาหาร เก้าอี้ ระเนระนาด --- คำถามมีอยู่ว่า 1. ปัญหาเรื่องนี้อยู่ที่อะไร? ก. แมลงสาบ ข. เด็กเสิร์ฟ ค. อื่นๆ 2. ถ้าคุณเป็นเด็กเสิร์ฟ คุณจะทำยังไง? --- --- --- ติ๊กต่อกๆ --- --- --- Sundar บอกว่า แมลงสาบ เหมือนกับ 'วิกฤติ' ยามเกิดวิกฤติ reaction หรือปฏิกิริยาต่อวิกฤตินั้น จะสะท้อนตัวตนเรา นิทานเรื่องเมื่อกี้ หาก ตอนแมลงสาบมาเกาะแขนเด็กเสิร์ฟ แล้วเค้าอยู่นิ่งๆ ค่อยๆเดินออกจากร้านไปอย่างสงบ ตอนจบคงต่างออกไป หาก ร้านอาหาร = องค์กร, แมลงสาบ = วิกฤติ, เด็กเสิร์ฟ = คนในองค์กร ดังนั้น ปัญหาของเรื่องนี้ คือ มุมมองของเรา ต่อ วิกฤติ และเราจะมีปฏิกิริยาต่อวิกฤตินั้นอย่างไร มีได้หลายคำตอบ --- เริ่มเพียงเท่านี้ก็ขนลุก กับ หลักสูตร Leadership Development Program Entrepreneurial Mindset ตอนที่ 1 ออกแบบหลักสูตร โดย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายโดย ดร. ตรียุทธ พรหมศิริ (ดร.เต็ม) จัดให้กับ คณะผู้บริหาร ไมโครซอร์ฟ (ประเทศไทย) 9 ครั้งตลอดหลักสูตร --- เรื่องที่สอง อะไรที่ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมีต่างจากคนอื่น ความฉลาด?, ปริญญามหาลัยดัง?, เพื่อนฝูง?, ไอเดีย?, เทคโนโลยี? หรือ.. --- งานวิจัย บอกว่า คือ Counter Intuition (การทำอะไรตรงข้ามกับสิ่งที่คุ้นเคย) ภาษาผม คือ 'ฝืน' ทำสิ่งไม่ชอบให้เป็น **เมื่อสิ่งนั้น ดี และ เป็นประโยชน์ ตัวอย่าง สมมุติ นาย ก. อยากแข็งแรง น้ำหนักลด แต่ปกติ นาย ก. เป็นมนุษย์ตื่นสาย นอนดึก หากวันนึง นาย ก. ฝืนใจยกตัวเองจากผ้าห่มมาวิ่งตอน 6 โมงเช้า ติดต่อกัน เป็นเดือนๆจน น้ำหนักลด ร่างกายแข็งแรงได้ แสดงว่า เค้ากำลัง ทำอะไรตรงข้ามกับสิ่งที่คุ้นเคย --- ข้อคิดกับตัวเอง Counter Intuition ต้องใช้หลายอย่าง 1. ลดทิฐิ : แยกแยะ ยอมรับ เข้าใจว่าอะไรดี ไม่ดี ต้องปรับปรุง 2. กล้า : ทุบโต๊ะ ตัดสินใจลงมือทำ 3. อดทน : เพราะมันฝืน ไม่ชอบ ไม่คุ้นเคย แต่จะทำ 4. วินัย : ทำอย่างต่อเนื่องถึงจะเห็นผล --- เห็นด้วย 100% ว่าใครก็ตามที่ทำ 4 ข้อนี้ได้เป็นปกติ ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จไม่ใช่เพียงผู้ประกอบการ แต่กับในทุกอาชีพที่ทำ --- พอหอมปากหอมคอ ถ้าฉบับเต็ม ให้ วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล CMMU ออกแบบหลักสูตรให้ครับ รับรอง ไม่ผิดหวัง — วันที่ : 7 มกราคม 2565 Visual Recorder : ตุลย์ เล็กอุทัย #cmmu #entrepreneurialmindset #picturestalk #visualrecording #graphicrecording

  • นักวาดขอสารภาพ (Interview Visual Recorder) เก็บตกเบื้องหลังงาน TEDxChiangmai 2021

    วันนี้ Pictures Talk มีเบื้องหลังการทำงานจากนักวาดภาพสรุปประชุมมาเล่าสู่กันฟัง เพราะงานในครั้งนี้ มีทั้งนักวาดมากประสบการณ์ และมือใหม่แกะกล่องเดบิ้วท์งานแรกที่นี่ ถึงแม้ว่าทุกๆคนจะมีวิธีตีความเล่าเรื่อง สไตล์การวาดภาพที่แตกต่างกัน แต่จุดร่วมไหนที่ทำให้มือวาดทั้ง 4 สรุปประชุมออกมาในทิศทางเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขเวลาที่จำกัดด้วยนะ? --- ตุลย์ เล็กอุทัย (Founder Pictures Talk, Make things happens) Q: ความรู้สึกต่อการกลับมาบันทึก TEDxChiangmai2021 A :ดีใจ และ ตื่นเต้น หลังจากไม่ได้บันทึก TEDx Chiang Mai มา 3 ปี บวกกับการกลับมาวาด Onsite เจอผู้คนทำให้นึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ส่วนตัวชอบ กว่าการวาดออนไลน์ Q:คิดว่าสไตล์การวาดภาพตัวเองเป็นอย่างไร? A:อ้วน กลม กวน คลีน แฝงข้อคิด ตลกบ้าง ตลกร้ายบ้าง ต้องไปดูดีๆ จะเห็นความหมายที่ซ่อนอยู่ Q:องค์ประกอบไหนคือสิ่งสำคัญที่สุดต่องานบันทึกประชุม? A:การร้อยเรียง เนื้อหาเข้าด้วยกัน และ ขยายสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อ Q: มีวิธีการสร้างจุดร่วมอย่างไรให้มือวาดภาพในทีม มีงานที่ออกมาในทิศทางเดียวกัน แม้จะมีสไตล์การวาด การตีความ และประสบการณ์ที่ต่างกัน? A: ส่วนตัวเชื่อในความแตกต่าง การตีความจากประสบการณ์ มุมมอง อันนั้นคือ สเน่ห์ ลายเส้น เหมือน DNA เหมือนลายมือเขียน ก้อปยังไงก็ไม่ได้ การหาจุดร่วม คือ การจัดองค์ประกอบ ใช้สี หัวปากกา และ ฟ้อนท์บางส่วน ร่วมกัน --- นัสรีน สรรเสริญ (Magic Hand) Q: ความรู้สึกต่อการกลับมาบันทึก TEDxChiangmai2021 A: ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 3 สำหรับงาน Visual Recording TEDxChiangMai ค่ะ นัสเริ่มทำงาน Visual Recording ครั้งแรกที่งาน TEDxChiangMai ปี 2018 ถือเป็นก้าวแรกของการเป็นนักวาด/บันทึกประชุมเลยค่ะ หลังจากนั้นก็ทำงานบันทึกประชุมมาเรื่อยๆ ได้มีโอกาสบันทึกในงาน TEDxChiangMai อีกครั้ง ในปี 2019 และล่าสุดคือ ปี 2021 ความพิเศษของปีนี้คือ งานถูกจัดในลักษณะ Hybrigde เราเลยลองเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน จากที่เคยบันทึกลงบนโฟมบอร์ดก็เปลี่ยนไฟล์เป็นดิจิทัล และมี Virtual Gallery ให้เข้าชมได้ด้วยค่ะ Q: คิดว่าสไตล์การวาดภาพตัวเองเป็นอย่างไร? A: นัสคิดว่าสไตล์การวาดเกิดจากประสบการณ์ ตอนเด็กๆนัสชอบอ่านการ์ตูน(Comic)นัสเลยชอบวาดคน ภาพที่วาดก็ออกแนวน่ารักๆหน่อย ใช้สีซอฟต์ๆ เน้นสื่อสารด้วยภาพเป็นหลักเลยค่ะ ในภาพบางภาพก็จะมีดีเทล กิมมิคเล็กๆซ่อนอยู่ ส่วนตัวหนังสือก็จะจดเฉพาะประเด็นสำคัญๆค่ะ Q:องค์ประกอบไหนคือสิ่งสำคัญที่สุดต่องานบันทึกประชุม? A: มี 2 เรื่องค่ะ เรื่องแรกคือภาพต้องน่าอ่าน เนื้อหาไม่เยอะหรือน้อยเกินไป คนอ่านแล้วเข้าใจ เรื่องที่สองคือ ความถูกต้องของเนื้อหา คือต้องจับประเด็นให้ตรงจุด ไม่บิดเบือนข้อมูล ใช้คำที่ถูกต้องตามที่ Speaker ต้องการสื่อค่ะ --- หญ้า แซ่ว้า (Remake drive) Q: ความรู้สึกต่อการบันทึก TEDxChiangmai2021 เป็นครั้งแรก? A: สุดประทับใจกับโอกาสเข้าร่วมงานกับ TEDx Chiang Mai 2021 ที่ครั้งหนึ่งเคยพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโอกาสสุดพิเศษที่ได้เป็นทีมงานของ Pictures Talk ในบทบาทผู้ช่วยนักบันทึกภาพครั้งแรก ประสบการณ์การวาดครั้งแรกในที่ประชุมสด ทำให้เรียนรู้ว่าการวาดรูปในการบันทึกภาพ นั้นแตกต่างจากการวาดรูปแบบทั่วไป ปกติหญ้าจะวาดรูปจากความคิดก่อน แล้วค่อยๆ เรียบเรียงความคิดลงในกระดาษ แต่ในครั้งนี้เราต้องเน้นวาดภาพที่สื่อความหมายของวิทยากรแต่ละท่านพูดออกมาให้ชัดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภายในเวลาที่ค่อนข้างจำกัด จึงถือว่าค่อนข้างตื่นเต้นปนท้าทายเมื่อต้องเอาภาพในความคิดของคนอื่น (ตามที่ตัวเองคิด) มาเรียบเรียงในกระดาษแทน Q:คิดว่าสไตล์การวาดภาพตัวเองเป็นอย่างไร? A: สไตล์การวาดรูปของหญ้ายังมีรูปร่างที่ไม่ชัดเจนมาก เนื่องจากเป็นการวาดครั้งแรก เส้นและรูปทรงยังไม่ได้แสดงออกถึงเอกลักษณ์อย่างชัดเจน ส่วนการลงสีจะเน้นสีที่ค่อนข้างชัดและค่อนไปทางสีสันฉูดฉาด เพื่อแสดงความแตกต่างอย่างชัดเจน อาจจำเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างสไตล์ที่ชัดเจนมากขึ้นต่อไปเรื่อยๆ Q:องค์ประกอบไหนคือสิ่งสำคัญที่สุดต่องานบันทึกประชุม? A:องค์ประกอบสำคัญในการให้น้ำหนักในบันทึกประชุมคือ การจัดองค์ประกอบให้สมดุลระหว่างภาพและตัวหนังสือ เพื่อให้ผู้อ่านไม่ต้องรู้สึกเบื่อกับตัวอักษร ขณะเดียวกันก็มองว่างานที่วาดออกมามุ่งเน้นภาพจนกลายเป็นงานคอมมิกแทน ต้องขอบคุณเพื่อนร่วมงานทุกท่านที่คอยแนะนำ ช่วยเหลือ และเปิดโอกาสให้หญ้ามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานออกมา มาร่วมลุ้นและติดตามผลงานของ Pictures Talk กับเราต่อไปเรื่อยๆ นะคะ --- ธนพร สว่างเมือง (Flying wings) Q: ความรู้สึกต่อการบันทึก TEDxChiangmai2021 เป็นครั้งแรก? A: พอเป็นครั้งแรกกับอะไรแล้วก็มักจะรู้สึกตื่นเต้นใช่ไหมคะ แต่แซนมีความมั่นใจมากกว่าความตื่นเต้นค่ะ เพราะว่าอยากให้งานออกมาใช้ได้ในครั้งแรกเลย เลยพยายามลดความตื่นเต้นแล้วเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเองแทนค่ะ Q:คิดว่าสไตล์การวาดภาพตัวเองเป็นอย่างไร? A: ภาพวาดของแซนเป็นการ์ตูนค่ะ ดังนั้นความท้าทายคือในงานที่เนื้อหามีความหลากหลาย ทั้งด้านข้อมูลหรืออารมณ์ที่ Speaker ต้องการถ่ายทอด งานของแซนเลยยังต้องฝึกฝนพัฒนาอีกเยอะเลยค่ะ โดยเฉพาะงานที่มีความเป๊ะเรื่องสัดส่วน เพราะแซนเป็นสาย freehand ไร้กฏเกณฑ์ ตอนนี้ก็ได้พี่นัสช่วยสอนอยู่ค่ะ งานหน้าแซนจะต้องวาดเส้นตรงให้ตรงกว่านี้แน่นอน Q:องค์ประกอบไหนคือสิ่งสำคัญที่สุดต่องานบันทึกประชุม? A: การร้อยเรียงเรื่องราว และการทำให้ภาพอ่านง่ายแต่น่าสนใจค่ะ สิ่งเดียวเลยที่แซนกังวลคือการทำให้ความน่าสนใจของเนื้อหาของ Speaker ลดลง เพราะทุกท่านที่ได้บันทึกนั้นต้องทำการบ้านอย่างหนักมาแน่ๆ ดังนั้นแซนเลยต้องตั้งใจถ่ายทอดออกมาให้ดีที่สุดเพื่อให้เกียรติแก่ Speaker ที่แซนได้บันทึกด้วยค่ะ --- Shift inner view through pictures บริษัท สาระภาพ จำกัด ช่วยให้ทุกการสื่อสารง่าย ด้วยความเชื่อว่า ภาพ เข้าใจง่าย, ดึงดูด และ เป็นสากล https://www.picturestalk.net https://www.facebook.com/Pictures-Talk-977760295636929 https://www.instagram.com/pictures_talk_visual/ https://www.linkedin.com/company/pictures-talk/ --- วันที่ : 27 พฤศจิกายน 64 Visual Facilitator : ตุลย์ เล็กอุทัย, นัสรีน สรรเสริญ, หญ้า แซ่หว่า, ธนพร สว่างเมือง #อยากวาดได้แบบนี้มีคอร์สสอน #visualdoing #picturestalk #visualrecording #graphicrecording #visualstorytelling

  • TEDxChiangMai เวทีจุดเริ่มต้นของ Pictures Talk สู่ปีที่ 8 กับการบันทึกประชุม 'Visual recording'

    จุดเริ่มต้น Pictures Talk ขอย้อนไปถึง กพ. 2556 เริ่มทดลองเขียนบทความเป็น ภาพเล่าเรื่อง รายสัปดาห์ให้ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์วีคลี่ พี่โม่ง คุณภัทระ คำพิทักษ์ (FB : Pattara Khumphitak) บรรณาธิการข่าว ขณะนั้น เห็นดีเห็นงามด้วย และ งาน TEDx Chiang Mai ราว สค. 2556 ทีมงานอยากทำบันทึกเสวนาเป็นภาพ จากแรงบันดาลใจจาก TEDx Malaysia, คุณมาติน เฟนสกี้ สตาลลิ่ง (FB : Martin Venzky-Stalling) ผู้จัดงานบอกว่า อยากทำแบบนี้บ้างกับ TEDx Chiang Mai 2013 ผมไม่รอช้า ขอทำโดยที่ยังไม่มีความรู้ ปีแรกผลงานเป็นมือสมัครเล่น แต่นับเป็นการจุดประกายสำคัญ ว่า ทำแล้วชอบ อยากทำอีก จากนั้น ตั้งใจศึกษาเพิ่มเติม อ่านหนังสือ ดูคลิป ไปฝึกกับสมาคม IFVP (International Forum of Visual Practitioners) ที่อเมริกา เผลอแป๊บเดียวก็ 8 ปี จน 27 พย. 2564 วันงาน TEDx Chiang Mai 2021 ที่ Pictures Talk ได้กลับมาที่จุดเริ่มต้น สิ่งที่ต่างไป 3 ข้อ 1. ครั้งนี้มีการสร้าง Metaverse ในการเชื่อมโยงผู้คน แบบ Hybrid จัดงานในสถานที่จริง และ มีแพลตฟอร์มให้เชื่อมโยง ออนไลน์ ทั้ง Whova, Miro และ Mozilla Hub (Metaverse) พัฒนาโดย Cyrus James Khan นักพัฒนาเกมส์ และเป็น วิทยากร TEDx Chiang Mai 2. การบันทึกเสวนาเป็นภาพ มีความแพร่หลาย เป็นที่นิยมกับงานประชุมใหญ่ๆ มีนักบันทึกที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นไม่น้อย สมาชิก Pictures Talk 2 ใน 3 คนได้มา Debut การทำงานจริงครั้งแรก คือ 1.) แซนดี้ (ธนพร สว่างเมือง) - MassComm ที่มี passion กับการวาดภาพ 2.) หญ้า แซ่ว้า - นักจิตวิทยา ที่สนใจการใช้ภาพสื่อสาร 3.) นัส (นัสรีน สรรเสริญ) - สถาปนิก ที่ย้ายขั้วจาก Cad มาจับ Procreate ทีมร่วมงานกันมายาวนาน มาเป็นพี่เลี้ยงในงานครั้งนี้ 3. บันทึกเป็นภาพดิจิตอล ที่สะดวกสบายกว่าการวาดภาพใหญ่ๆด้วยมือบนโฟมบอร์ด เหมือนก่อนโควิด สิ่งที่เหมือนเดิม คือ แรงบันดาลใจ จากประสบการณ์ ความรู้ ความคิด ของวิทยากร 15 ท่าน 1. ทำให้ SDGs เป็นเครื่องมือของทุกคน โดย ผศ. ชล บุนนาค, ผู้อำนวยการ SDG Move 2. ผึ้ง จิ๋วแต่แจ๋ว โดย รศ.ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร, นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้ง และอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. ขบวนการนักพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดย ผศ. ดร. ว่าน วิริยา, ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4. ทางเลือกของมนุษยชาติ : การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือความแตกแยก โดย Christopher Oestereich, Co - founder of the Circular Design Lab 5. RE-Togerther โดย คุณบฤงคพ วรอุไร, นักชาติพันธุ์วิทยาและนักแต่งเพลง 6. ไทย-พม่า ใกล้ชิดแต่ไม่สนิทกัน? โดย ดร.ลลิตา หาญวงษ์, อ.ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ 7. สร้างสังคมที่มีเหตุผลบนพื้นฐานของข้อมูล โดย คุณธนิสรา เรืองเดช, CEO & Co - founder Punch up 8. ชีวิตดีๆมีได้ด้วยศิลปะ โดย คุณเวลา อมตธรรมชาติ, ผู้อำนวยการเทศกาลศิลปะนานาชาติ Low Fat Art Fes 9. กลับบ้านเกิดมาทำเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน โดย คุณอภิศักดิ์ กำเพ็ญ, ตัวแทนคนรุ่นใหม่จากชุมชนแม่ทา 10. Blockchain, Art and the Metaverse โดย Cyrus James Khan, Digital artist & Game Development 11. คนสร้างดาวเทียม โดย ดร. พงศธร สายสุจริต, director and lecturer at InSTED King mongkut’s University of technology North Bangkok 12. A Corruption Game Changer โดย ผศ.ดร. ต่อภัสสร์ ยมนาค, อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , Co = founder HAND Social Enterprise 13. Spirit that is not Spirit โดย คุณภาคี ภู่ประดิษฐ์, Non - Alcoholic Mixologist 14. เมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง โดย คุณบุญส่ง ธารศรีทอง, Program manager at EHCO asia foundation 15. โปรดระวังช่องว่างระหว่างวัย โดย คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ, CEO of startdee Pictures talk มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับ TEDXChiangmai และได้บันทึก Talk ของวิทยากรทั้ง 15 ทั้งที่มีเรื่องราวน่าสนใจหลากหลายประเด็นที่ได้แบ่งปันร่วมกันในงานนี้ --- Shift inner view through pictures บริษัท สาระภาพ จำกัด ช่วยให้ทุกการสื่อสารง่าย ด้วยความเชื่อว่า ภาพ เข้าใจง่าย, ดึงดูด และ เป็นสากล https://www.picturestalk.net https://www.facebook.com/Pictures-Talk-977760295636929 https://www.instagram.com/pictures_talk_visual/ https://www.linkedin.com/company/pictures-talk/ --- วันที่ : 27 พฤศจิกายน 64 Visual Recorder : ตุลย์ เล็กอุทัย, นัสรีน สรรเสริญ, หญ้า แซ่ว้า, ธนพร สว่างเมือง #อยากวาดได้แบบนี้มีคอร์สสอน #visualdoing #picturestalk #visualrecording #graphicrecording #visualstorytelling

  • HuaHin Hop Fest 2021 ปลุกหัวหิน ให้ฟินและอินไปกับเทศกาลดนตรี

    มาร่วมปลุกหัวหิน ถิ่นครีเอทีฟ ดนตรี และงานเทศกาล ไปกับงานสัมมนาออนไลน์สุดฮอป! HuaHin Hop Fest 2021 --- Visual recording online ครั้งแรกของพวกเรา กับ forum งานเทศกาลดนตรี เพื่อการพัฒนาพื้นที่เมืองร่วมกันของชาวหัวหิน สู่การเป็นเมืองเทศกาลดนตรี ว่าที่ world music city แห่งประเทศไทย ผ่านมุมมองสุดยอดผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี และงานเทศกาลของเมืองไทย - คุณณัฏฐ์ปวินท์ กุลกัลยาดี ดีเจเจ็ม จากคลื่นวิทยุอารมณ์ดี 94 EFM - คุณภัสร์นนท์ ไกรกฤติราษฎร์ ผู้แทนชมรมนักดนตรีหัวหิน - ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล คนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล The Charles Ives Awards - คุณเทพวรรณ คณินวรพันธุ์ ZAAP CEO ผู้รังสรรค์อีเว้นท์ และปาร์ตี้สุดมันส์ - คุณชณัฏฐ์ พงศ์ธราธิก อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวหัวหิน - คุณปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี ผู้ก่อตั้งอาณาจักร fungjai - ตำนานนักแซ็กโซโฟนเมืองไทย คุณโก้ มิสเตอร์แซกแมน เพื่อร่วมดึงอัตลักษณ์สุดฮิปของหัวหิน เมืองดนตรี ให้เป็นเมืองที่สดใส น่าประทับใจกว่าที่เคย นัส นัสรีน สรรเสริญ visual recorder ในครั้งนี้ ผู้มีความหลงใหลในดนตรีอยู่เป็นทุนเดิม รู้สึกได้ถึงพลังอันแรงกล้า และความต้องการที่จะขับเคลื่อนพัฒนาเมืองหัวหินสู่สุดยอดเมืองเทศกาลดนตรี และความสนุกสร้างสรรค์ทะลุจอสัมมนาออนไลน์ นัส และ Pictures talk ขอขอบคุณโอกาสสุดพิเศษและสร้างสรรค์ จาก บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด และ TIEFA - Thailand International Events & Festivals Trade Association ที่ให้โอกาสทางเราได้จดบันทึกประชุมเป็นภาพ หรือ visual recording ให้แก่งานสัมมนาออนไลน์สุดสร้างสรรค์และเปี่ยมไปด้วยพลังขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอย่างแท้จริง และตั้งตารอคอยที่จะเห็นหัวหินในก้าวต่อไปสู่การเป็น world music city ในอนาคตต่อไป https://www.facebook.com/TIEFA.Thailand/videos/1561597240856470 --- วันที่ : 4 ตุลาคม 64 เวลา : 9.00 – 12.00 น. ผู้บันทึก : นัสรีน สรรเสริญ #สรุปเสวนายาวๆจบในภาพเดียว #picturestalk #visualrecording #graphicrecording #visualstorytelling

  • The Facilitation Summit 2021 เอเชีย ต้องไว้ลาย!

    ปี 2016 ครั้งแรกได้สัมผัส คำว่า Facilitator (วิทยากรกระบวนการ) เชิงลึก การไป บันทึกเวิร์คชอป เป็นภาพงาน 19th Asia Conference Hulian Taiwan. รู้สึกทึ่ง สนใจกระบวนการ Facilitation ที่มีความเป็น ศาสตร์ บวก ศิลป์ การได้พูดคุย เตรียมงาน เพื่อเข้าใจกระบวนการ กับวิทยากรเก่งนั้น ได้เรียนรู้เยอะมาก --- การออกแบบ Sequence, อุปกรณ์ที่ใช้, เครื่องมือ สไตล์ที่หลากหลาย หลังจบงานนั้น ตั้งเป้าหมายกับตัวเองที่จะเรียนรู้ กระบวนการ Facilitation ให้มากขึ้น หลังจาก ฮัวเหลียน ไป IAF อีก 3 ครั้ง ปี 2017 ไปบันทึก โซล (เกาหลีใต้) ปี 2018 ไปบันทึก โอซาก้า (ญี่ปุ่น) + Facilitator 1 เวิร์คชอป ปี 2019 ไปบันทึก กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย) + Facilitator 1 เวิร์คชอป --- ตัดภาพมาปีนี้ 2021 ดีใจที่ได้รับความไว้วางใจจาก IAF (International Association of Facilitators) เป็น Head VPs Asia (Visual Practitioners) ร่วมกับอีก 4 ทวีป อเมริกา, ยุโรป, แอฟริกา และ ออสเตรเลีย กับงาน The Facilitation Summit 2021 (Virtual Event) 15-16 ตค. 64 จะไม่ให้เสียชื่อ ทวีป Asia แน่นอน --- http://facilitationsummit.org/ --- ใจจริงยังชอบบรรยากาศ บันทึกหน้างานจริงๆ เจอตัวเป็นๆ ฟัง เห็น ในสถานที่จริง มากกว่าบนจอคอมพิวเตอร์ โควิด หมดเมื่อไหร่ คงได้เจอกันอีก --- #สรุปเสวนายาวๆจบในภาพเดียว #ทำรายงานยาวๆให้อ่านได้เร็วขึ้น #อยากวาดได้แบบนี้มีคอร์สสอน #จบในภาพเดียว --- #IAF2021 #thefacilitationsummit2021 #picturestalk #visualrecording #graphicrecording #visualstorytelling #StrategicVisualization

bottom of page