top of page
ค้นหา

Frontier Research การวิจัยขั้นแนวหน้า

อัปเดตเมื่อ 17 เม.ย.

สมุดปกขาว เล่าเรื่องวิทย์ยาก เป็นภาพ ให้ผู้นำประเทศเข้าใจง่าย สนับสนุนงบวิจัย



สค. 2561 ได้รับการติดต่อจาก สวทน. (ชื่อหน่วยงานขณะนั้น ปัจจุบัน คือ สอวช.) ว่ากำลังทำ โครงการสมุดปกขาว งานวิจัยขั้นแนวหน้า (White paper - Frontier Research) เพื่อนำเสนอ นายกรัฐมนตรี ในนามของ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ท่าน ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์ รัฐมนตรีในขณะนั้นสรุปภาษาชาวบ้านว่า รัฐจะช่วย หรือ ส่งเสริม บรรดา ด็อกเตอร์ ทุนรัฐ จบนอก จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ กว่า 500 คน ในอุตสาหกรรมอนาคต ให้เค้าต่อยอดความรู้ ความสามารถให้เกิดประโยชน์กับประเทศได้ยังไง?

---

การวิจัยขั้นแนวหน้า หมายถึง วิจัยเรื่องในอนาคต ระดับ 20-40 ปีข้างหน้า ไม่ใช่ระยะใกล้ เปรียบว่า หากรู้แน่ๆว่า มีดาวดวงใหม่ที่อุดมสมบูรณ์ ที่ไหนซักแห่ง ยังไม่มีใครพบ แต่ละประเทศก็เร่งส่งยานอวกาศออกไปค้นหา ไทยจะนั่งรอ หรือ จะตั้งเป้าผลิตยานบินออกไปแข่งกับเค้า ทุกอย่างมีความเสี่ยงและผลลัพธ์ที่อาจจะสำเร็จหรือล้มเหลวก็เป็นไปได้หมด คำถาม คือ เราจะลุยหรือจะรอ?


คล้ายกับการ Pitching คำถามจากผู้มีอำนาจตัดสินใจ เช่น

1. ทำไมต้องทำ?

2. ทำอะไร?

3. มีประโยชน์ยังไง?

4. ใช้งบเท่าไหร่?

5. ใครรับผิดชอบ ตัวชี้วัดคือ?

6. ได้อะไรบ้าง?

----

หลังจากรับโทรศัพท์สายแรก อีก 2 วัน ก็เข้าประชุมกับทีมใหญ่ที่ กทม. ทันที ประชุมนั้น มี ท่านรัฐมนตรี, ผู้บริหาร สวทน, หน่วยงานอื่นๆของกระทรวง, ทีมสนับสนุน, นักวิจัย, นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่กว่า 30-40 คน ในสาขาต่างๆ ที่ผมแทบนึกไม่ออกว่าคืออะไรในตอนนั้น เช่น ควอนตัมคอมพิวเตอร์, Spintronics, Nanoelectronics, Automatic and control system ของดาวเทียม, นาฬิกาอะตอม, แสงซินโครตรอน, เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และ อื่นๆ โจทย์คือ จะสื่อสารเรื่องยากทางเทคนิคพวกนี้ยังไงให้คนทั่วไปเข้าใจ นักวิจัย, นักวิทย์ฯ, คุณหมอ หลายท่าน ช่วยอธิบาย เล่าเรื่องที่แต่ละท่านทำอยู่ มีประโยชน์ยังไง จะต่อยอด ไปทางไหน ส่ง paper, chart, ข้อมูล, รูปภาพต่างๆ มาให้อ่านจำนวนมาก ผมได้บันทึกประชุมเป็นภาพ2 ครั้ง ระหว่างนั้นก็ประสาน online กับทีมทำสมุดปกขาว ปรับแก้ เพิ่มลด จนจบครบเล่ม

---

กลุ่มงานวิจัยขั้นแนวหน้า 4 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

----

กลุ่ม 1

  • อาหารเพื่ออนาคต (Food for the future)

  • เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming)

  • การวิจัยอาหารเชิงหน้าที่ (Functionalized Food)

  • อาหารตามโภชนาการเฉพาะบุคคล (Personalized Food)


กลุ่ม 2

  • การแพทย์และสาธารณสุขขั้นแนวหน้า (Health Frontier)

  • การแพทย์เพื่อการป้องกันและวินิจฉัย (Preventive and diagnostic medicines)

  • การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine)

  • การบำบัดโรคและการวิจัยยาตัวใหม่ (Therapeutics and drug discovery)

  • ชีวสารสรเทศศาสตร์ (Bioinformatic)

  • เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

  • เวชศาสตร์การฟื้นฟู (Regenerative Medicine)

  • เทคโนโลนีเซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ (Stem Cells)

  • เทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineering)

  • เทคโนโลยีชีววัสดุ (Biomaterials)

  • เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing)


กลุ่ม 3

  • พลังงานแห่งอนาคต (Future Energy)

  • การวิจัยด้านวัสดุขั้นสูง (Advances materials for energy conversion and energy storage)

  • การผลิตพลังงาน (Frontier energy conversion)

  • การกักเก็บพลังงานและรถไฟฟ้า (Energy storage and electric vehicle)

  • การบริหารจัดการและความยั่งยืน (Management / Sustainability)


กลุ่ม 4

  • การป้องกันภัยคุกคามและรับมือความเสี่ยง/โอกาสในอนาคต (Future Threats and Opportunities)

  • การคำนวณและประมวลผลข้อมูลในรูปแบบใหม่ (New paradigm in computation and processing)

  • การเชื่อมต่อสื่อสารและการบริหารจัดการสังคมเมือง (New paradigm in connectivity, communication and advances urban management)

  • การเก็บเกี่ยวและแสวงหาความรู้ในอนาคต (New paradigm in knowledge exploration)


----


ในที่สุด วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2561 เวลา 08:00 – 12:00 น.

นายกรัฐมนตรีพบนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่

“นักวิทย์รุ่นใหม่ นำไทยไปด้วยกัน – Reinventing Thailand

@ Young Scientists”

ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล จัดโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

---

---

ผมไม่ได้ไปร่วมงาน ติดตามข่าวด้วยความตื่นเต้น

งานนี้ เปิดโลกใหม่มาก หลายเรื่องเพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรก ถ้าไม่ได้มาร่วมโครงการนี้ คงไม่มีวันได้เจอ พี่ๆน้องๆ นักวิทย์ นักวิจัย รุ่นใหม่ระดับเทพ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความฝันเหล่านี้ ผมเชื่อมาตลอดว่า คนไทย ถ้าตั้งใจ ทำจริง เราสู้ได้ จบงานนี้ ยิ่งมั่นใจเข้าไปอีก

 
 
 

コメント


© 2017-2025 Design by Pictures Talk

bottom of page