top of page
  • Writer's pictureTul Lekutai

Visual Thinking & Doing การสื่อสารด้วยภาพยากจริงหรือ?

Updated: Oct 13, 2020

คำตอบจั่วหัวด้านบนว่า..ไม่ยากอย่างที่คิด เมื่อเราทุกคนล้วนมีชุดทักษะ Visual thinking อยู่กับ ตัว หัวใจ และ ดีเอ็นเอ มาแต่บรรพบุรุษ


ข้อพิสูจน์ 3 อย่าง คือ

ก่อนอื่น ขอปรับทัศนคติก่อนว่า เราทุกคน 'วาดรูปได้' ซึ่งต่างกับ 'วาดรูปสวย' ที่ใครหลายคนมักเอารูปที่ตัวเองวาด เทียบกับ ศิลปิน หรือ คนวาดรูปเก่งๆ หากเป็นการวาดเป้าหมายเพื่อสื่อสารให้เข้าใจ วาดรูปสวย ไม่สำคัญขนาดนั้น

  1. มีใครไม่ฝันเป็นภาพบ้าง?

  2. ก่อนเรามีภาษาพูด มนุษย์ถ้ำ สื่อสารกันด้วย ภาพวาด ภาษาโบราณ เช่น ฮีโรกริฟฟิก (อียิปย์), มายัน และ ภาษาจีน ล้วนมีพื้นฐานจากภาพทั้งสิ้น

  3. ภาพ เป็นภาษาสากล เช่น คุณดันหลงป่าอเมซอน พูดภาษาไม่ได้ แต่ถ้าคุณกลัว คุณวาดรูป 'งู' ถ้าคุณหิว คุณวาดรูป 'ผลไม้' คนป่าอเมซอนก็พอจะเข้าใจ


Visual Thinking ดีขนาดไหน ก็ไม่เท่ากับ Visual Doing ต่อเนื่องไปด้วย คือ คิดแล้วก็ต้องสื่อเป็นภาพ


เวลาเราคิด สิ่งที่อยู่ในหัวจะล่องลอย วนไปมา มัวๆไม่ชัดเจน กระทั่งเราหยิบ สมุด ปากกา เมื่อไหร่

สมองจะทำหน้าที่

1. ลดทอน คัดเนื้อออกจากน้ำ

2. เริ่ม จด หรือ วาด สมองจะเรียบเรียง จัดลำดับ 1, 2, 3..


3. จะง่ายขึ้นมาก กับทั้ง คนพูด และ คนฟัง เมื่ออธิบายสิ่งที่คิดด้วย ภาพ

ประยุกต์ได้กับทั้ง การเสนองาน, ขายไอเดีย, pitching, instruction, วิสัยทัศน์, ข้อสรุปการประชุม,

ถอดบทเรียน, ระดมสมอง, เวิร์คชอป และ อื่นๆ


4. หากเราเข้าใจอะไรตรงกัน เมื่อลงมือทำ โอกาสสำเร็จย่อมมากกว่า


ความเชื่อผิดๆอย่างนึง คือ ถ้าเราเก่งคำนวณ ต้องวาดรูปไม่ค่อยดี, ถ้าเราเก่งศิลปะ มักจะคิดไม่เป็นระบบ พูดง่ายๆ เก่งวิทย์ มักด้อยศิลป์ เก่งศิลป์ มักอ่อนวิทย์ ที่จริง เราทุกคนมีสมองที่เหมือนรถยนต์ 2 เครื่องอยู่แล้ว แต่ไม่นิยมใช้ให้ครบ


1. สมองซ้าย (Logic) : คิดวิเคราะห์, เหตุผล, คำนวณ, คิดเป็นขั้นเป็นตอน, ความจำ, การรับรู้ภาษา

2. สมองขวา (Imagination) : อารมณ์, จินตนาการ, ความคิดสร้างสรรค์


การวาดภาพ เหมือนการใช้เครื่องยนต์ทั้ง 2 เครื่องควบคู่กันไป

มีอาชีพที่ใช้การคิดและสื่อเป็นภาพด้วยนะ


จริงดิ?! 4-5 ปีหลัง หลายคนคงเคยได้เห็นใครบางคนนั่งตะคุ่มอยู่หลังห้อง ฟัง จด วาดเป็นภาพ บนกระดาน หรือ บอร์ดใหญ่ๆ ใช่แล้ว มีคำเรียกกลุ่มคนเหล่านี้อยู่


1. Graphic recorder, Visual artist : ผู้สรุปประเด็นเป็นภาพ ใช้กับ ผู้ที่ฟัง, จับประเด็น, วาดสรุปเป็นภาพ ในงานประชุม, เสวนา ขนาดใหญ่ ผู้ฟังหลัก 100 คนขึ้นไป


2. Visual note taker, Scribber, Doodler : ผู้สรุปประเด็นเป็นภาพ ใช้กับ การประชุมขนาดเล็ก ไม่เป็นทางการมาก เช่น ประชุมในบริษัท, องค์กร หรือ จดบันทึกเป็นภาพในสมุดส่วนตัว


3. Graphic / Visual facilitator : วิทยากรกระบวนการ ที่ใช้ชุดความคิดและสื่อด้วยภาพ เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างกระบวนการเรียนรู้


ในเมืองไทย ข้อ 1 และ 2 ที่ทำเป็นอาชีพจริงจัง ยังมีไม่มากนัก แต่ในต่างประเทศ มีสมาคมวิชาชีพนานาชาติ รวมบรรดาจอมยุทธ์ที่ใช้ Visual thinking ในการแก้ปัญหาต่างๆ คือ

IFVP (International Forum of Visual Practitioner) สำนักงานใหญ่ ที่สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งมากว่า 25 ปี

www.ifvp.org


บรรดาบริษัทชื่อดัง บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำใน Silicon Valley ล้วนมีคนเหล่านี้ทำงานอยู่ในส่วนต่างๆขององค์กร ไม่ว่า บันทึกประชุม, ระดมสมอง หรือ สร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านภาพ




บทความหน้า เรามีดูกันว่า แล้ว..บรรดา Visual artist, visual recorder เค้าทำงานกันยังไง?

--------

เขียนโดย

ตุลย์ เล็กอุทัย (Tul Lekutai)

1. สถาปนิก

2. นักสรุปประเด็นเป็นภาพอาชีพ (Graphic recorder, Visual Artist)

3. วิทยากรกระบวนการ Visual Thinking & Doing (Graphic / Visual facilitator)


- ผู้ก่อตั้ง บริษัท สาระภาพ จำกัด ภายใต้แบรนด์ Pictures Talk

- กรรมการบริหาร IFVP (International Forum of Visual Practitioners) สหรัฐอเมริกา

- ร่วมเขียนบทความ ในหนังสือ The World of Visual Facilitation (Jeroen Blijsie, Tim Harmons

และ Rachels Smith)


------

-------

PICTURES TALK : CHANGE PEOPLE'S VIEW THROUGH PICTURE.

บริษัท สาระภาพ จำกัด ช่วยให้ทุกการสื่อสารง่าย ด้วยความเชื่อว่า

ภาพ เข้าใจง่าย, ดึงดูด และ เป็นสากล


Facebook : https://www.facebook.com/Pictures-Talk-977760295636929

Ig : @pictures_talk_visual

Linkedin : Pictures Talk



bottom of page