top of page

41 items found for ""

  • 'When We Were Young' เวิร์คชอป แขกพิเศษ คุณมุกดา นรินทร์รักษ์ The Standard PoP, Samsung และ True 5G

    When We Were Young' เชื่อม อดีต - ปัจจุบัน - อนาคต ด้วย Visual Thinking โดย The Standard POP, Samsung Galaxy Note20, True 5G ชั้น 7 True Digital Park, วันเสาร์ที่ 3 ตค. 2563 ----- โดยทีม Pictures Talk (www.picturestalk.net) ตุลย์ เล็กอุทัย (Tul Lekutai) สถาปนิก, นักสรุปประเด็นเป็นภาพอาชีพ, วิทยากรกระบวนการ สอนเรื่อง หลักการบันทึกประชุมเป็นภาพ Visual Recording และ เครื่องมือที่ใช้ในการวาดสื่อสาร 2. อัญมณี มาตยาบุญ (Unyamanee Mattayaboon) สถาปนิก, นักสรุปประเด็นเป็นภาพอาชีพ สรุปชีวิต คุณมุกดา เป็นภาพแบบสดๆ ด้วย Samsung Galaxy Note 20 / ด้วยระบบสัญญาณ True 5G ความฝันของเรา คือ 'เปลี่ยนความคิด ผู้คนด้วยภาพ' Change people's view through picture. เราเชื่อว่า ภาพสร้างแรงบันดาลใจ, ภาพเข้าใจง่าย และ ภาพ คือ ภาษาสากล งานของ Pictures Talk บันทึกประชุม, เสวนา, เวิร์คชอปเป็นภาพ Visual Recording, Visual Artist, Graphic Recording แปลงข้อมูลซับซ้อนให้เข้าใจง่าย Data Storytelling, Data Visualization เวิร์คชอป จัดระบบคิด เนรมิตภาพ Visual Thinking & Doing, Data in the mood, ครบเด็กสร้างภาพ, หักปากกาเซียน, ประชุมละไม, จอมทัพจับปากกา ขั้นตอนการบันทึกประชุมเป็นภาพ ฟัง, จับประเด็น, ร้อยเรียง, วาด 1. การฟัง 3 แบบ ฟังด้วยหู - เพื่อได้ข้อมูล, ปริมาณ, สถิติ ฟังด้วยสมอง - เพื่อเข้าใจว่า ผู้พูดรู้สึกอย่างไร ฟังด้วยหัวใจ - เพื่อเข้าใจว่า ผู้พูดต้องการสื่อสารอะไร 2. จับประเด็น แก่นเรื่อง - ข้อมูลสำคัญ ที่ใช้เล่า เหมือน หา พระเอก, นางเอก ข้อมูลสนับสนุน - ข้อมูลลำดับรอง ที่จะเหมือนหรือต่างกับแก่นเรื่องก็ได้ หักมุม - มีข้อขัดแย้ง, เงื่อนไข 3. ร้อยเรียง ลำดับการเล่า - ภาพรวม, ขั้นตอน อุปมาอุปไมย - เปรียบเปรย 4. วาด เครื่องมือหลักทั้ง 7 ใช้ในการวาดเพื่อสื่อสาร เส้น, รูปทรง ใบหน้า, ท่าทาง, สิ่งของ, ทัศนียภาพ และ ตัวอักษร สัมภาษณ์ชีวิตวัยเด็ก คุณ มุกดา นรินทร์รักษ์ พร้อม Visual Recording สอนเทคนิคการวาด พร้อมด้วย Samsung Galaxy Note20 ------- PICTURES TALK : CHANGE PEOPLE'S VIEW THROUGH PICTURE. บริษัท สาระภาพ จำกัด ช่วยให้ทุกการสื่อสารง่าย ด้วยความเชื่อว่า ภาพ เข้าใจง่าย, ดึงดูด และ เป็นสากล Website : http://www.picturestalk.net Facebook : https://www.facebook.com/Pictures-Talk-977760295636929 Ig : @pictures_talk_visual Linkedin : Pictures Talk #picturestalk #thestandardpop #narinnarinrak #whenwewereyoung #tullekutai #visualthinking #graphicrecording #visualstorytelling

  • How to communicate your team by visual.

    ครบรอบ 10 ปี สถาปัตย์ มช.รุ่น 15 ทำงานกลุ่มอีกครั้ง ที่เชียงใหม่ ปีที่แล้ว ฉบับย่อ Step I : โจทย์ คื๊อ... มันไม่ใช่แค่การทำงานให้เสร็จเท่านั้น แต่มันคือ...ทำยังไง ให้เพื่อนที่จบถาปัดรุ่นเดียวกัน ที่แยกย้ายกันไปอยู่ต่างที่ ต่างจังหวัด ต่างประเทศ และไม่ได้เจอกันมา 5 ปี มาทำงาน #นิทรรศการขนาดไม่เล็ก ด้วยกันอีกครั้งอย่างสมู๊ทที่สุด ? ปัญหาคือการสื่อสาร รุ่นเรานี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด กรุ๊ปไลน์รุ่นทุกวันนี้ยังไม่มี เดชะบุญยังมีกรุ๊ปเฟสบุครุ่นที่มีสมาชิกครบอยู่หนึ๊งอัน! ความเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียวในกรุ๊ปก็คือ วันดีคืนดีก็มีคนแจ้งว่า “ทุกคน เราจะแต่งงานแล้วนะ” แค่นั้น ใช่ค่ะ...#การกลับมาทำงานกลุ่มด้วยกันอีกครั้ง ทำยังไงดี? แล้วในโอกาสครบรอบ 10 ปีรุ่น มันควรมีบรรยากาศที่ดีใช่มั้ย? Step II : การเปลี่ยนมาใช้การสื่อสารด้วยภาพ กับทีม สามารถส่งผ่านทั้งข้อมูลและความรู้สึก Step III : ไม่มีใครอยากมีส่วนร่วมกับงานที่เครียด เราอัพเดตสเตตัสงานเป็นภาพที่มีสีสันสดใส สิ่งที่มหัศจรรย์คือ เมื่อเรา post เป็นภาพ เรา reply กันด้วยภาพเช่นกัน ทำให้ความคิดของเราชัดเจนยิ่งขึ้น Step IV : ปึ๊บ! มันก็ต้องมีกันบ้าง ลุ้นๆว่าจะเสร็จไม่เสร็จ ต้องสีแดงเท่านั้น ทุกคนช่วยกันตาม Step V : ถึงวันติดตั้ง สื่อสารสถานที่ติดตั้งด้วยภาพวาดแปลนง่ายๆ และมาร์คจุดบนภาพถ่าย ชัดเจน ไม่โป๊ะ เพื่อนๆที่ทำงานอิสระช่วยกันดูตอนบ่าย เพื่อนๆที่ทำงานประจำช่วยกันเข้าไปดูตอนเย็น And finally, We get it done!!!! Thank you สถาปัตย์ มช. รุ่น 15 และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ----- PICTURES TALK : CHANGE PEOPLE'S VIEW THROUGH PICTURE. บริษัท สาระภาพ จำกัด ช่วยให้ทุกการสื่อสารง่าย ด้วยความเชื่อว่า ภาพ เข้าใจง่าย, ดึงดูด และ เป็นสากล Website : http://www.picturestalk.net Facebook : https://www.facebook.com/Pictures-Talk-977760295636929 Ig : @pictures_talk_visual Linkedin : Pictures Talk

  • 'ชุมทางคนสร้างภาพ' IFVP (International Forum of Visual Practitioners) U.S.A. Visual Recording

    เลสลี เซลมอน ชู (Leslie Salmon-Zhu) นักบันทึกประชุมเป็นภาพ (Graphic recorder) เธอทำงานอยู่แถบ ซานฟรานซิสโก และ เบย์แอร์เรีย รัฐแคลิฟอร์เนีย ช่วง คศ.1980 (พ.ศ.2523) เวลานั้น มีการรวมตัวกันของบรรดา คนที่ใช้ภาพในการสื่อสารเรื่องยากให้เข้าใจง่าย หลายแขนง (Visual Fields) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด เครื่องมือ เทคนิค และ เรื่องราวของกันและกัน เลสลี ผู้เป็นหัวหอกในการจัดประชุมและต่อมากลายเป็น IFVP ณ รีทรีทเซนเตอร์ ที่ มาริน ฮิลล์ (Marin Hills) ร่วมกับ แคเรน สจวร์ตเวิร์ท (Karen Stratvert), ซูซาน แคลลี (Susan Kelly) และ ลิน เคียร์นี (Lynn Kearny) เลสลี เซลมอน ชู (Leslie Salmon-Zhu) จัดประชุมประจำปีหลายครั้งแถบรัฐทางตะวันตก สหรัฐอเมริกา เป้าหมายไม่ใช่เพียง การจัดประชุมปีต่อปี แต่เพื่อสร้างชุมชนวิชาชีพด้านนี้ในระดับนานาชาติ ในการประชุมครั้งหนึ่ง เจนนิเฟอร์ แฮมมอนด์ แลนดัว (Jennifer Hammond Landau) ยกคำว่า "Visual Practitioners" เพื่ออธิบาย ภาพรวม ของกลุ่มนักปฏิบัติใช้ภาพสื่อสาร แก้ปัญหา ที่หลากหลาย ซึ่งต่อมา เจนนิเฟอร์ ได้แนะนำให้ใช้ชื่อเรียกกลุ่มนี้ใหม่ว่า "The International Forum of Visual Practitioners" ไม่กี่ปีหลังจากนั้น ประชุมหนึ่งจัดขึ้นที่ เมาร์เทน อัลวิซิโอ (Mt.Alvisio) แคลิฟอร์เนีย สมาชิก IFVP เกรก กอลลาเฮอ (Greg Gollaher) เป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้ง IFVP ให้เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และมีรายได้จากการให้บริการ ค่าสมาชิกมาจากการชำระรายบุคคล ซึ่งต่อมา สมาชิกยุคบุกเบิก กลายเป็น คณะกรรมการบริหาร IFVP ชุดแรก หลายปีต่อจากนั้น องค์กรเติบโตขึ้น มีความหลากหลายของสมาชิกจากหลายประเทศ การประชุมประจำปีนั้น มุ่งมั่น ในการส่งเสริม ให้การศึกษา, ประชาสัมพันธ์, การตลาด และ สร้างเครือข่ายระหว่างสมาชิก มาร่วมเป็นสมาชิกกับเราและช่วยกันเสริมสร้างชุมชน คนสื่อด้วยภาพให้เติบโตยิ่งขึ้น ประวัติความเป็นมา IFVP (The International Forum of Visual Practitioners) https://www.ifvp.org/history ------------------------ TEDx Chiang Mai 2013 คือการบันทึกเสวนาเป็นภาพ กึ่งทางการครั้งแรกของผม ณ ตอนนั้นแทบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับโลกของ Visual แต่เริ่มชอบใจ ด้วยพื้นเพเดิม ชอบวาดรูป, สนใจ ใคร่รู้ สิ่งใหม่ ความรู้ต่างๆ ประกอบกับเป็น สถาปนิก ที่ชอบวาด tive, สเก็ตแบบเป็นทุนเดิม เริ่มสนใจวงการนี้อย่างจริงจัง กระทั่งปี 2015 ได้พบว่ามี สมาคมวิชาชีพนี้อยู่ในอีกฟากนึงของโลก ชื่อ IFVP เริ่มต้นด้วยการสมัครเป็นสมาชิก จังหวะที่ปี 2016 มีการเปิดรับสมัคร BOD (Board of Directors) ซึ่งเป็นงานอาสาสมัคร ไม่รอช้าที่จะยื่นในสมัคร ผ่านขั้นตอนการสัมภาษณ์โดย Jenny Trautman (ประธานฯ ตอนนั้น) ความถนัด, วิสัยทัศน์ สิ่งที่เราอยากมาช่วย IFVP โชคดีที่เค้าให้โอกาส เลยได้ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมตั้งแต่ 2016 จนปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารสมาคมปัจจุบัน ปี 2020 Mission: ให้การส่งเสริม, สอน และ สนับสนุน นักวิชาชีพ นักปฏิบัติ ผู้ใช้การสื่อสารด้วยภาพ ในระดับนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างชุมชนให้พัฒนาเข้มแข็งและเติบโต We promote, teach, and support the visual professional and practices globally to advance community, growth and development. Vision: เชื่อมโลกให้คิดและทำงานร่วมกัน ด้วยพลังของการวาดและสื่อสารด้วยภาพ Drawing the world together to think and work better through the power of visuals. ----- ในสมาคม IFVP ล้วนมีสมาชิกประกอบ อาชีพที่ใช้การคิดและสื่อเป็นภาพต่างๆดังนี้ 1. Graphic recorder, Visual artist : ผู้สรุปประเด็นเป็นภาพ ใช้กับ ผู้ที่ฟัง, จับประเด็น, วาดสรุปเป็นภาพ ในงานประชุม, เสวนา ขนาดใหญ่ ผู้ฟังหลัก 100 คนขึ้นไป 2. Visual note taker, Scriber, Doodler : ผู้สรุปประเด็นเป็นภาพ ใช้กับ การประชุมขนาดเล็ก ไม่เป็นทางการมาก เช่น ประชุมในบริษัท, องค์กร 3. Graphic / Visual facilitator : วิทยากรกระบวนการ ที่ใช้ชุดความคิดและสื่อด้วยภาพ เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ---- ขอชวนมาเป็นสมาชิก และ เปิดโลกทัศน์ Visual Practitioners ด้วยกัน! https://www.ifvp.org PICTURES TALK : CHANGE PEOPLE'S VIEW THROUGH PICTURE. บริษัท สาระภาพ จำกัด ช่วยให้ทุกการสื่อสารง่าย ด้วยความเชื่อว่า ภาพ เข้าใจง่าย, ดึงดูด และ เป็นสากล Website : http://www.picturestalk.net Facebook : https://www.facebook.com/Pictures-Talk-977760295636929 Ig : @pictures_talk_visual Linkedin : Pictures Talk

  • Visual recording, Graphic recording, Visual artist อาชีพที่คนทำน้อย แต่ความต้องการมาก

    ถ้าเป็น 20 ปีที่แล้ว เล่าให้พ่อ แม่ ฟังว่า วันนี้มีคนจ้างไปสรุปประชุมเป็นภาพ แม่จะหันมาถามยิงชุดว่า ทำไมต้องบันทึก? แล้ววาดอะไร? เป็นการ์ตูนเหรอ? ใครยอมจ่ายเงินด้วยเหรอ? แม้แต่ตอนนี้ ยังไม่แน่ใจว่า แม่เข้าใจชัดหรือยัง ใช่ อ่านไม่ผิด สิ่งนี้คือ 'อาชีพ' ที่ต้องใช้ทักษะผสมผสาน ทั้ง ศาสตร์ และ ศิลป์ ศาสตร์ คือ การฟัง, จับประเด็น, เรียบเรียง, วิเคราะห์, สังเคราะห์, แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ศิลป์ คือ อุปมาอุปไมย, จินตนาการ, เติมอารมณ์, หยอดมุก, จัดวาง, การเลือกใช้ เส้น สี, การวาด ที่สำคัญที่สุด คือ 'ความเร็ว' และ 'ความถูกต้อง' 3 ปัญหาสุดคลาสสิก ชาว Visual Recorder, Graphic recorder, Visual Artist สะกดคำผิด สารภาพตามตรง งานที่วาดสด วาดมือ ไม่ว่าเราจะชำนาญ, ผ่านสนามมามากแค่ไหน ความผิดพลาดมีให้เห็นเป็นเรื่องปกติ เช่น สะกดคำผิด ทั้งจากไม่รู้ เข้าใจผิด หรือ มึน ขณะที่วาดไป ฟังไป เราก็คนธรรมดาไม่ใช่เทพเจ้ามาจากไหน แต่ละวงการมีศัพท์เทคนิคของตัวเอง 2. วาดไม่เต็ม บางงานที่เร็วยิ่งกว่ารถด่วน เช่น TEDx วิทยากรพูด 10 นาที, 15 นาที จบ เรียกว่าหมึกยังไม่ทันแห้ง พูดจบ ภาพก็ต้องใกล้ แต่บางครั้ง ชีวิตก็เกือบจบ เพราะวาดไม่ทัน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นการสั่งสมประสบการณ์ ยิ่งทำมาก ยิ่งมีเทคนิค วิธีการมาก 3. วาดเต็มแล้วแต่เนื้อหายังไม่หมด เกิดไม่บ่อย แต่ก็มีบ้าง ทั้งจากวิทยากรพูดเกินเวลา หรือ เราวาดใส่เพลินจนลืมดูว่า เฮ้ย ใกล้หมดแผ่นแล้ว! เทคนิคที่ใช้ประจำ คือ เติมภาพ ไปบนที่ว่างส่วนอื่น และ หาทางเชื่อมโยงข้อมูลตรงนี้ กับ ภาพตรงนั้น ด้วยลูกศร, เส้นทาง และ อื่นๆ เรื่องสุดท้าย อาชีพนี้ หากมีสุขภาพที่แข็งแรง ก็ได้เปรียบ ไม่จำเป็นต้องกล้ามโต ซิกแพ๊คแน่น แต่การยืนวาดนานๆหลายชั่วโมง ใช้สมองฟังข้อมูลจำนวนมาก ท่าวาด ท่ายืน ที่บางครั้งก็ลุก นั่ง โค้ง เอี้ยวตัว จบงานต้องปวดเมื่อย ทั้ง หัว, ไหล่, สะบัก, ขา, เอว การออกกำลังกายช่วยผ่อนคลายได้ดีทีเดียว -------- เขียนโดย ตุลย์ เล็กอุทัย (Tul Lekutai) 1. สถาปนิก 2. นักสรุปประเด็นเป็นภาพอาชีพ (Graphic recorder, Visual Artist) 3. วิทยากรกระบวนการ Visual Thinking & Doing (Graphic / Visual facilitator) - ผู้ก่อตั้ง บริษัท สาระภาพ จำกัด ภายใต้แบรนด์ Pictures Talk - กรรมการบริหาร IFVP (International Forum of Visual Practitioners) สหรัฐอเมริกา - ร่วมเขียนบทความ ในหนังสือ The World of Visual Facilitation (Jeroen Blijsie, Tim Harmons และ Rachels Smith) ------- PICTURES TALK : CHANGE PEOPLE'S VIEW THROUGH PICTURE. บริษัท สาระภาพ จำกัด ช่วยให้ทุกการสื่อสารง่าย ด้วยความเชื่อว่า ภาพ เข้าใจง่าย, ดึงดูด และ เป็นสากล Website : http://www.picturestalk.net Facebook : https://www.facebook.com/Pictures-Talk-977760295636929 Ig : @pictures_talk_visual Linkedin : Pictures Talk

  • Visual Thinking & Doing การสื่อสารด้วยภาพยากจริงหรือ?

    คำตอบจั่วหัวด้านบนว่า..ไม่ยากอย่างที่คิด เมื่อเราทุกคนล้วนมีชุดทักษะ Visual thinking อยู่กับ ตัว หัวใจ และ ดีเอ็นเอ มาแต่บรรพบุรุษ ข้อพิสูจน์ 3 อย่าง คือ ก่อนอื่น ขอปรับทัศนคติก่อนว่า เราทุกคน 'วาดรูปได้' ซึ่งต่างกับ 'วาดรูปสวย' ที่ใครหลายคนมักเอารูปที่ตัวเองวาด เทียบกับ ศิลปิน หรือ คนวาดรูปเก่งๆ หากเป็นการวาดเป้าหมายเพื่อสื่อสารให้เข้าใจ วาดรูปสวย ไม่สำคัญขนาดนั้น มีใครไม่ฝันเป็นภาพบ้าง? ก่อนเรามีภาษาพูด มนุษย์ถ้ำ สื่อสารกันด้วย ภาพวาด ภาษาโบราณ เช่น ฮีโรกริฟฟิก (อียิปย์), มายัน และ ภาษาจีน ล้วนมีพื้นฐานจากภาพทั้งสิ้น ภาพ เป็นภาษาสากล เช่น คุณดันหลงป่าอเมซอน พูดภาษาไม่ได้ แต่ถ้าคุณกลัว คุณวาดรูป 'งู' ถ้าคุณหิว คุณวาดรูป 'ผลไม้' คนป่าอเมซอนก็พอจะเข้าใจ Visual Thinking ดีขนาดไหน ก็ไม่เท่ากับ Visual Doing ต่อเนื่องไปด้วย คือ คิดแล้วก็ต้องสื่อเป็นภาพ เวลาเราคิด สิ่งที่อยู่ในหัวจะล่องลอย วนไปมา มัวๆไม่ชัดเจน กระทั่งเราหยิบ สมุด ปากกา เมื่อไหร่ สมองจะทำหน้าที่ 1. ลดทอน คัดเนื้อออกจากน้ำ 2. เริ่ม จด หรือ วาด สมองจะเรียบเรียง จัดลำดับ 1, 2, 3.. 3. จะง่ายขึ้นมาก กับทั้ง คนพูด และ คนฟัง เมื่ออธิบายสิ่งที่คิดด้วย ภาพ ประยุกต์ได้กับทั้ง การเสนองาน, ขายไอเดีย, pitching, instruction, วิสัยทัศน์, ข้อสรุปการประชุม, ถอดบทเรียน, ระดมสมอง, เวิร์คชอป และ อื่นๆ 4. หากเราเข้าใจอะไรตรงกัน เมื่อลงมือทำ โอกาสสำเร็จย่อมมากกว่า ความเชื่อผิดๆอย่างนึง คือ ถ้าเราเก่งคำนวณ ต้องวาดรูปไม่ค่อยดี, ถ้าเราเก่งศิลปะ มักจะคิดไม่เป็นระบบ พูดง่ายๆ เก่งวิทย์ มักด้อยศิลป์ เก่งศิลป์ มักอ่อนวิทย์ ที่จริง เราทุกคนมีสมองที่เหมือนรถยนต์ 2 เครื่องอยู่แล้ว แต่ไม่นิยมใช้ให้ครบ 1. สมองซ้าย (Logic) : คิดวิเคราะห์, เหตุผล, คำนวณ, คิดเป็นขั้นเป็นตอน, ความจำ, การรับรู้ภาษา 2. สมองขวา (Imagination) : อารมณ์, จินตนาการ, ความคิดสร้างสรรค์ การวาดภาพ เหมือนการใช้เครื่องยนต์ทั้ง 2 เครื่องควบคู่กันไป มีอาชีพที่ใช้การคิดและสื่อเป็นภาพด้วยนะ จริงดิ?! 4-5 ปีหลัง หลายคนคงเคยได้เห็นใครบางคนนั่งตะคุ่มอยู่หลังห้อง ฟัง จด วาดเป็นภาพ บนกระดาน หรือ บอร์ดใหญ่ๆ ใช่แล้ว มีคำเรียกกลุ่มคนเหล่านี้อยู่ 1. Graphic recorder, Visual artist : ผู้สรุปประเด็นเป็นภาพ ใช้กับ ผู้ที่ฟัง, จับประเด็น, วาดสรุปเป็นภาพ ในงานประชุม, เสวนา ขนาดใหญ่ ผู้ฟังหลัก 100 คนขึ้นไป 2. Visual note taker, Scribber, Doodler : ผู้สรุปประเด็นเป็นภาพ ใช้กับ การประชุมขนาดเล็ก ไม่เป็นทางการมาก เช่น ประชุมในบริษัท, องค์กร หรือ จดบันทึกเป็นภาพในสมุดส่วนตัว 3. Graphic / Visual facilitator : วิทยากรกระบวนการ ที่ใช้ชุดความคิดและสื่อด้วยภาพ เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ในเมืองไทย ข้อ 1 และ 2 ที่ทำเป็นอาชีพจริงจัง ยังมีไม่มากนัก แต่ในต่างประเทศ มีสมาคมวิชาชีพนานาชาติ รวมบรรดาจอมยุทธ์ที่ใช้ Visual thinking ในการแก้ปัญหาต่างๆ คือ IFVP (International Forum of Visual Practitioner) สำนักงานใหญ่ ที่สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งมากว่า 25 ปี www.ifvp.org บรรดาบริษัทชื่อดัง บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำใน Silicon Valley ล้วนมีคนเหล่านี้ทำงานอยู่ในส่วนต่างๆขององค์กร ไม่ว่า บันทึกประชุม, ระดมสมอง หรือ สร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านภาพ บทความหน้า เรามีดูกันว่า แล้ว..บรรดา Visual artist, visual recorder เค้าทำงานกันยังไง? -------- เขียนโดย ตุลย์ เล็กอุทัย (Tul Lekutai) 1. สถาปนิก 2. นักสรุปประเด็นเป็นภาพอาชีพ (Graphic recorder, Visual Artist) 3. วิทยากรกระบวนการ Visual Thinking & Doing (Graphic / Visual facilitator) - ผู้ก่อตั้ง บริษัท สาระภาพ จำกัด ภายใต้แบรนด์ Pictures Talk - กรรมการบริหาร IFVP (International Forum of Visual Practitioners) สหรัฐอเมริกา - ร่วมเขียนบทความ ในหนังสือ The World of Visual Facilitation (Jeroen Blijsie, Tim Harmons และ Rachels Smith) ------ ------- PICTURES TALK : CHANGE PEOPLE'S VIEW THROUGH PICTURE. บริษัท สาระภาพ จำกัด ช่วยให้ทุกการสื่อสารง่าย ด้วยความเชื่อว่า ภาพ เข้าใจง่าย, ดึงดูด และ เป็นสากล Website : http://www.picturestalk.net Facebook : https://www.facebook.com/Pictures-Talk-977760295636929 Ig : @pictures_talk_visual Linkedin : Pictures Talk

bottom of page